Tel : 0-2680-5800

การระบุสัญลักษณ์ของตัวนำ หรือ สีของสายไฟฟ้า มีความสำคัญต่อความปลอดภัยในการติดตั้งระบบไฟฟ้าอย่างมาก เพราะหากไม่ทำให้ถูกต้องตามมาตรฐานอาจทำให้เกิดความสับสนหรือเข้าใจผิดในการแยกแยะการต่อวงจรของตัวนำ เช่น ต่อตัวนำสลับเฟส หรือต่อวงจรผิดจนมีกระแสไฟไหลในสายดิน ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงขึ้นได้ 

การติดตั้งระบบไฟฟ้าในประเทศไทย โดยทั่วไปจะต้องปฏิบัติให้สอดคล้องเป็นไปตามข้อกำหนดของมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าฯ ที่ออกโดยวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ซึ่งมาตรฐานล่าสุดคือฉบับปี พ.ศ.2564 ได้มีการกำหนดวิธีการระบุสัญลักษณ์ตัวนำด้วยการใช้สีและการทำเครื่องหมายเป็นตัวอักษรไว้ในหัวข้อ 5.1.11 การระบุสัญลักษณ์ตัวนำสำหรับระบบแรงต่ำ (กระแสสลับ) ที่มีการต่อลงดิน โดยสามารถสรุปได้ดังนี้

สีของสายไฟฟ้า และการระบุสัญลักษณ์ตัวนำ ตามมาตรฐานกำหนด

ข้อสังเกตจากมาตรฐานการติดตั้ง ฯ

1. สำหรับสายแกนเดียวขนาดใหญ่กว่า 16 ตร.มม. โดยทั่วไปแล้วผู้ผลิตสายไฟฟ้าจะผลิตสายเป็นสีดำเป็นมาตรฐานของโรงงาน จึงมีการอนุญาตให้ใช้สายสีดำยาวตลอดทั้งเส้นและใช้วิธีทำเครื่องหมายเป็นสีหรือตัวอักษรแทนการทำฉนวนเป็นสีได้

2. สำหรับสายแกนเดียวที่ใช้เป็นสายดิน นอกจากจะใช้สายหุ้มฉนวนแล้ว ยังสามารถใช้สายตัวนำเปลือยได้

3. สีฉนวนสายดิน แม้จะอนุโลมให้ใช้สีเขียวได้สำหรับสายไฟฟ้าแกนเดียว แต่มาตรฐานต้องการให้ใช้สีเขียวแถบเหลืองเป็นทางเลือกแรกมากกว่า เช่นเดียวกับกรณีการทำเครื่องหมายเป็นตัวอักษรที่มาตรฐานต้องการให้ใช้อักษร PE เป็นทางเลือกแรกมากกว่าการใช้ตัวอักษร G หรือ E ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล IEC ที่กำหนดให้ใช้สีเขียวร่วมกับสีเหลือง หรือใช้ตัวอักษร PE เป็นสัญลักษณ์สำหรับ Protective Conductor ซึ่งก็คือสายดินป้องกันหรือสายดินของอุปกรณ์ไฟฟ้านั่นเอง

สำหรับสายไฟฟ้าแกนเดียว โดยเฉพาะสาย 60227 IEC 01 (THW) ซึ่งเป็นสายที่ใช้เดินในบ้านและอาคารโดยทั่วไป ในท้องตลาดจะมีสีสายไฟฟ้าให้เลือกหลากหลายสีสำหรับสายขนาดไม่เกิน 16 ตร.มม. การเลือกใช้จึงต้องเลือกสีสายไฟฟ้าให้ถูกต้องตามข้อกำหนดของมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าฯ ดังที่กล่าวมา ส่วนสายแกนเดียวขนาดใหญ่กว่า 16 ตร.มม. ที่มักจะผลิตเป็นสีดำ ก็จำเป็นต้องทำเครื่องหมายเป็นสี หรือตัวอักษรบริเวณที่มีจุดต่อสายและทุกปลายสายให้ถูกต้องตามมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าฯ ด้วยเช่นกัน

สำหรับสายไฟฟ้าชนิดหลายแกน ผู้ผลิตจะผลิตให้มีสีฉนวนเป็นไปตามมาตรฐานอ้างอิงอยู่แล้ว แต่ก็มีข้อควรระวังในการเลือกสายไฟฟ้าดังนี้

สีของสายไฟฟ้า กรณีเลือกสายที่มีตัวนำ 3 แกน จะมีสีฉนวนให้เลือกสองแบบด้วยกันคือ 

  • แบบที่หนึ่ง ฉนวนน้ำตาล, สีฟ้า และสีเขียวแถบเหลือง สำหรับใช้กับระบบไฟฟ้า 1 เฟสที่มีสายดิน และ
  • แบบที่สอง ฉนวนสีน้ำตาล. สีดำ และสีเทา สำหรับใช้กับระบบไฟฟ้า 3 เฟสที่ไม่มีทั้งสายนิวทรัลและสายดิน
สีของสายไฟฟ้า แบบหลายแกน

สีของสายไฟฟ้ากรณีเลือกสายที่มีตัวนำ 4 แกน จะมีสีฉนวนให้เลือกสองแบบด้วยกันคือ 

  • แบบที่หนึ่ง ฉนวนสีน้ำตาล. สีดำ, สีเทา และสีเขียวแถบเหลือง สำหรับใช้กับระบบไฟฟ้า 3 เฟสที่มีสายดิน แต่ไม่มีสายนิวทรัล
  • แบบที่สอง ฉนวน สีน้ำตาล, สีดำ, สีเทา และสีฟ้า สำหรับใช้กับระบบไฟฟ้า 3 เฟสที่มีสายนิวทรัลแต่ไม่มีสายดิน 
สีของสายไฟฟ้า แบบหลายแกน

ทั้งนี้ การใช้สายไฟฟ้าที่ระบุสีฉนวนถูกต้องตามมาตรฐาน จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดความสับสนหรือเข้าใจผิดในการแยกแยะตัวนำสายไฟฟ้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการแก้ไขหรือต่อเติมระบบไฟฟ้าในภายหลัง

มาตรฐาน IEC ที่ว่าด้วยเรื่อง การระบุสัญลักษณ์ตัวนำด้วยการใช้สีหรือตัวอักษร คือมาตรฐาน IEC 60445 ซึ่งสามารถสรุปการแนะนำในการระบุสัญลักษณ์ของตัวนำไว้ ดังตาราง

จะเห็นได้ว่า โดยหลักแล้ว การระบุสัญลักษณ์ตัวนำตามมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย มีพื้นฐานมาจากมาตรฐาน IEC 

อย่างไรก็ตาม มีความแตกต่างบางประการที่พบระหว่างมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย และมาตรฐาน IEC 60445 ดังนี้

  1. มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทยอนุโลมให้ใช้สีเขียวสำหรับสายดิน กรณีที่เป็นสายไฟฟ้าแกนเดียวได้ แต่มาตรฐาน IEC กำหนดให้ต้องใช้สีเขียวและสีเหลืองร่วมกันเท่านั้น และไม่ให้ใช้สีเขียวหรือสีเหลืองร่วมกับสีอื่น ในการระบุสัญลักษณ์ตัวนำอื่น ๆ เพื่อป้องกันความสับสนด้วย นอกจากนี้ มาตรฐาน IEC ยังแนะนำให้หลีกเลี่ยงการใช้สีเขียวหรือสีเหลืองสีใดสีหนึ่งเพียงสีเดียวในการระบุสัญลักษณ์ตัวนำ เว้นแต่กรณีที่แน่ใจว่าจะไม่เกิดความสับสนในการแยกแยะตัวนำ
  1. สำหรับตัวนำสายนิวทรัล มาตรฐาน IEC กำหนดสีด้วยคำภาษาอังกฤษว่า Blue ซึ่งให้ความหมายครอบคลุมทั้งสีน้ำเงินและสีฟ้าในภาษาไทย โดยมาตรฐานแนะนำให้ใช้สีฟ้า (Unsaturated colour blue หรือ Light blue) เพื่อป้องกันความสับสนกับสีอื่น ๆ แต่ก็ไม่ได้ห้ามใช้สีน้ำเงิน ส่วนมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย กำหนดให้สายนิวทรัลใช้สีฟ้าเท่านั้น
  2. นอกจากนี้ มาตรฐาน IEC ยังแนะนำให้หลีกเลี่ยงการใช้สีเขียวหรือสีเหลืองสีใดสีหนึ่งเพียงสีเดียวในการระบุสัญลักษณ์ตัวนำ เว้นแต่กรณีที่แน่ใจว่าจะไม่เกิดความสับสนในการแยกแยะตัวนำ
  3. การใช้สีเขียวและสีเหลืองร่วมกันสำหรับสายดิน มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทยกำหนดให้เป็นสีเขียวแถบเหลือง ซึ่งตีความได้ว่าพื้นที่ผิวส่วนที่เห็นเป็นสีเขียวจะมีมากกว่าพื้นที่ผิวส่วนเส้นแถบที่เห็นเป็นสีเหลือง แต่ในมาตรฐาน IEC ไม่ได้เจาะจงลงไปว่าต้องใช้สีใดเป็นสีพื้นและสีใดเป็นเส้นแถบ แต่กำหนดโดยให้พื้นที่ผิวของสีใดสีหนึ่งอยู่ระหว่าง 30% – 70% และพื้นที่ผิวที่เหลือเป็นอีกสีหนึ่ง ซึ่งหมายความว่าจะใช้เป็นสีเขียวแถบเหลือง หรือสีเหลืองแถบเขียวก็ได้ หรืออาจใช้เป็นสีเขียวและสีเหลืองที่มีพื้นที่เท่า ๆ กันสีละ 50% ก็ได้
  4. การกำหนดสีของตัวนำเส้นไฟในระบบไฟฟ้า 3 เฟส มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย กำหนดให้ เฟส 1 ใช้สีน้ำตาล, เฟส 2 ใช้สีดำ และเฟส 3 ใช้สีเทา แต่ในมาตรฐาน IEC ระบุว่าควรใช้ สีดำ, สีน้ำตาล และสีเทา โดยไม่ได้กำหนดเจาะจงลงไปว่าต้องใช้สีใดสำหรับเฟสใด หรือมีการเรียงลำดับอย่างไร ดังนั้นในต่างประเทศจึงอาจพบเจอการใช้สีฉนวนเรียงสลับเฟสแตกต่างไปจากที่ประเทศไทยใช้ได้ เช่น เฟส 1 ใช้สีดำ, เฟส 2 ใช้สีน้ำตาล และเฟส 3 ใช้สีเทา เป็นต้น

และสุดท้ายนี้ เฟ้ลปส์ ดอด์จ หวังว่าผู้อ่านทุกท่านจะได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ สีของสายไฟฟ้า และการระบุสัญลักษณ์ตัวนำ ตามมาตรฐานที่ประเทศไทยกำหนด รวมทั้งที่มาจากมาตรฐานสากล IEC แล้วอย่าลืมติดตามว่า เฟ้ลปส์ ดอด์จ จะนำบทความดี ๆ อะไรมาแชร์ให้ทุกท่านได้อ่านกันอีกนะคะ

อ่านบทความอื่น ๆ ได้ที่นี่


ติดตามข่าวสารและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม


More Catalog

Price List

Extra high – high voltage Power cables

Medium voltage power cables

Low Voltage Power and Control Cables

Fire Resistant and Low Smoke Halogen Free cables 

Telecommunication Cables

Building Wire and Bare Conductor

สายไฟฟ้าที่ใช้งานในระบบไฟฟ้าทั่วไป มีชนิดอะไรบ้าง

สายไฟฟ้าที่ใช้งานในระบบไฟฟ้าทั่วไป มีอยู่ด้วยกันหลากหลายชนิด ซึ่งสายไฟฟ้าแต่ละชนิดต่างก็มีการออกแบบโครงสร้างและคุณสมบัติต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับลักษณะการนำไปติดตั้งใช้งานในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป 

การเลือกใช้สายไฟฟ้า จึงต้องเลือกชนิดสายให้เหมาะสมกับรูปแบบการใช้งาน และวิธีการติดตั้งสายไฟฟ้าตามมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้า ฯ ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยและเสถียรภาพของระบบไฟฟ้า

โดยทั่วไป เราอาจแบ่งกลุ่มสายไฟฟ้าตามระดับแรงดันไฟฟ้าใช้งานได้เป็น สายไฟฟ้าแรงดันต่ำ, สายไฟฟ้าแรงดันปานกลาง, สายไฟฟ้าแรงดันสูงและสูงพิเศษ

นอกจากนี้ ยังมีสายไฟฟ้าที่ใช้งานเฉพาะด้าน เช่น สายไฟฟ้าที่มีคุณสมบัติเพิ่มความปลอดภัยเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ หรือสายไฟฟ้าสำหรับวงจรควบคุม เป็นต้น ซึ่ง สายไฟฟ้าที่ใช้งานในระบบไฟฟ้าทั่วไป ชนิดที่นิยม ได้แก่

1. สายไฟฟ้าแรงดันต่ำ (Low voltage cables)

1.1 สายไฟฟ้ามาตรฐาน มอก.11 (สาย Building Wire)

เป็นสายไฟฟ้าที่มีตัวนำเป็นทองแดง มีฉนวนเป็น PVC และบางชนิดอาจมีเปลือก PVC หุ้มชั้นนอก สายที่ใช้โดยทั่วไปมีพิกัดแรงดันไฟฟ้า 300/500V หรือ 450/750V และมีพิกัดอุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส สายไฟฟ้ามาตรฐาน มอก.11 มีด้วยกันหลายชนิด แต่ชนิดที่นิยม สายไฟฟ้าที่ใช้งานในระบบไฟฟ้าทั่วไป ได้แก่

60227 IEC 01 (THW) เป็นสายไฟฟ้าตัวนำทองแดงหุ้มฉนวน PVC ชั้นเดียว มีพิกัดแรงดันไฟฟ้า 450/750V เป็นสายที่นิยมใช้งานโดยทั่วไป ใช้เดินร้อยท่อฝังผนังหรือบนฝ้าเพดานภายในอาคาร เดินร้อยท่อเกาะผนัง เดินในราง wire-way หรือเดินลอยในอากาศภายนอกอาคาร

 

60227 IEC 02 (THW-F) เป็นสายไฟฟ้าตัวนำทองแดงหุ้มฉนวน PVC ชั้นเดียว มีพิกัดแรงดันไฟฟ้า 450/750V ต่างจากสาย 60227 IEC 01 (THW) ตรงที่ตัวนำเป็นทองแดงเส้นฝอย จึงอ่อนตัวได้ดี ติดตั้งในพื้นที่แคบได้สะดวก นิยมใช้เดินในตู้ควบคุมไฟฟ้า สามารถใช้เดินร้อยท่อ หรือเดินในราง wire-way ได้

  

 

NYY และ NYY-G เป็นสายไฟฟ้าตัวนำทองแดง หุ้มฉนวนและเปลือก PVC พิกัดแรงดันไฟฟ้า 450/750V มีตัวนำตั้งแต่ 1 แกน ถึง 4 แกน โดยสาย NYY-G จะมีสายดินแกนสีเขียวแถบเหลืองเพิ่มมาอีก 1 แกน

สาย NYY และสาย NYY-G เป็นสายที่มีความแข็งแรงทนทาน เนื่องจากมีเปลือก PVC หุ้มหนากว่าสายชนิดอื่นๆ ทำให้สามารถใช้ติดตั้งร้อยท่อฝังดินและฝังดินโดยตรงได้ดี และยังสามารถใช้เดินลอยในอากาศ เดินร้อยท่อ วางบนรางเคเบิล และราง wire-wayได้อีกด้วย

 

60227 IEC 10 เป็นสายไฟฟ้าที่มีลักษณะโครงสร้างเหมือนสาย NYY ชนิดหลายแกน ทำให้ผู้ใช้งานมักสับสนกับสาย NYY ในแง่การติดตั้งใช้งาน ความแตกต่างระหว่างสายไฟสองชนิดนี้คือ สาย 60227 IEC 10 มีพิกัดแรงดันไฟฟ้า 300/500V มีฉนวนและเปลือกบางกว่าสาย NYY และมีขนาดตัวนำสูงสุด 35 ตร.มม. การใช้งานสามารถเดินลอยในอากาศ เดินร้อยท่อ เดินเกาะผนัง วางบนรางเคเบิลและราง wire-way แต่ไม่สามารถติดตั้งร้อยท่อฝังดินหรือฝังดินโดยตรงได้เหมือนสาย NYY

 

VCT และ VCT-G เป็นสายไฟฟ้าตัวนำทองแดง หุ้มฉนวนและเปลือก PVC มีพิกัดแรงดันไฟฟ้า 450/750V มีตัวนำตั้งแต่ 1 แกน ถึง 4 แกน โดยสาย VCT-G เป็นสายหลายแกนพร้อมแกนสายดินสีเขียวแถบเหลือง สาย VCT และ VCT-G มีจุดเด่นคือตัวนำเป็นทองแดงเส้นฝอยสายมีความนิ่มและอ่อนตัวได้ดี เหมาะกับงานติดตั้งในที่แคบ หรืองานที่สายมีการขยับเคลื่อนที่บ่อยหรือมีความสั่นสะเทือน สาย VCT และ VCT-G ใช้เดินร้อยท่อ เดินลอยในอากาศ เดินเกาะผนัง วางบนรางเคเบิลและราง wire-way รวมทั้งเดินร้อยท่อฝังดิน หรือฝังดินโดยตรงได้

60227 IEC 53 เป็นสายไฟฟ้าที่มีลักษณะโครงสร้างเหมือนสาย VCT ชนิดหลายแกน คือตัวนำทองแดงเส้นฝอย หุ้มฉนวนและเปลือก PVC แต่มีพิกัดแรงดันไฟฟ้า 300/500V และมีขนาดตัวนำสูงสุด 2.5 ตร.มม. เป็นสายไฟฟ้าที่เหมาะสำหรับใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดหยิบยกเคลื่อนที่ได้ นอกจากนี้ยังใช้เดินลอยในอากาศ เดินร้อยท่อ เดินเกาะผนัง วางบนรางเคเบิลหรือราง wire-way แต่ไม่สามารถติดตั้งร้อยท่อฝังดิน และฝังดินโดยตรงได้เหมือนสาย VCT

VAF และ VAF-G เป็นสายไฟฟ้าแบนที่มีตัวนำทองแดง หุ้มฉนวนและเปลือก PVC มีพิกัดแรงดัน 300/500V สาย VAF มีตัวนำ 2 แกน และสาย VAF-G มีตัวนำ 2 แกนพร้อมกับสายดินอีกหนึ่งแกน ใช้เดินเกาะผนังด้วยเข็มขัดรัดสาย (ตีกิ๊ป) ห้ามเดินร้อยท่อและห้ามเดินฝังดิน

1.2 สายอะลูมิเนียม

  

THW-A หรือ WPC (Weather Proof Cable) เป็นสายไฟฟ้าตัวนำอะลูมิเนียมตีเกลียวหุ้มฉนวน PVC ชั้นเดียว ผลิตตามมาตรฐาน มอก.293-2541 มีพิกัดแรงดันไฟฟ้า 750V ใช้เดินลอยในอากาศภายนอกอาคาร ไม่สามารถใช้เดินภายในอาคารได้

1.3 สายไฟฟ้าฉนวน XLPE

เป็นสายไฟฟ้าที่ผลิตตามมาตรฐาน IEC 60502-1 หรือ มอก.2143-2546 พิกัดแรงดันไฟฟ้า 0.6/1 kV มีตัวนำเป็นทองแดงตีเกลียว หุ้มฉนวน XLPE (Cross-linked polyethylene) และหุ้มเปลือกนอก PVC ซึ่งฉนวน XLPE สามารถทนอุณหภูมิได้ 90 องศาเซลเซียส สายไฟฟ้าฉนวน XLPE จึงมีพิกัดกระแสไฟฟ้าสูงกว่าสายหุ้มฉนวน PVC ที่มีขนาดตัวนำเท่ากัน

นอกจากนี้ ฉนวน XLPE ยังมีความต้านทานไฟฟ้าสูงกว่า มีความแข็งแรงมากกว่า และป้องกันการซึมผ่านของน้ำได้ดีกว่าฉนวน PVC จึงเหมาะสำหรับใช้เป็นฉนวนของสายไฟฟ้ากำลัง

CV หรือ 0.6/1 kV XLPE/PVC เป็นสายไฟฟ้าตัวนำทองแดง หุ้มฉนวน XLPE และหุ้มเปลือกนอก PVC มีทั้งชนิดตัวนำแกนเดี่ยว และหลายแกน สามารถใช้ติดตั้ง เดินร้อยท่อ เดินเกาะผนัง วางบนรางเคเบิลและราง wire-way เดินร้อยท่อฝังดิน และฝังดินโดยตรงได้ แต่หากใช้เดินในอาคาร ต้องเดินในช่องเดินสายที่ปิดมิดชิด เช่น เดินร้อยท่อ หรือในราง wire-way ไม่สามารถใช้เดินเกาะผนังโดยตรงหรือวางบนรางเคเบิลภายในอาคารได้ หากต้องการเดินสายหุ้มฉนวน XLPE วางบนรางเคเบิลภายในอาคาร ต้องใช้สายชนิด CV-FD ที่ผ่านการทดสอบต้านเปลวเพลิงตามมาตรฐาน IEC 60332-3 category C

CV-FD หรือ 0.6/1 kV XLPE/FRPVC เป็นสายไฟฟ้าตัวนำทองแดง หุ้มฉนวน XLPE ที่มีโครงสร้างเหมือนกันกับสาย CV ยกเว้นเปลือกนอกเป็น FRPVC ซึ่งเป็น PVC เกรดที่ติดไฟได้ยากกว่า PVC ปกติและไม่ลามไฟ มีทั้งชนิดตัวนำแกนเดี่ยว และหลายแกน สามารถใช้ติดตั้ง เดินร้อยท่อ วางบนรางเคเบิล ร้อยท่อฝังดิน และฝังดินโดยตรง สามารถใช้เดินบนรางเคเบิลภายในอาคารได้ เนื่องจากผ่านการทดสอบต้านเปลวเพลิงตามมาตรฐาน IEC 60332-3 category C

1.4 สายควันน้อย ไร้ฮาโลเจน (Low Smoke Halogen Free cables: LSHF cables)

สายควันน้อย ไร้ฮาโลเจน ( Low smoke halogen free : LSHF ) เป็นสายไฟฟ้าที่ใช้ติดตั้งในอาคารหรือสถานที่เฉพาะ ที่ต้องการความปลอดภัยสูงกว่าปกติเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ เช่น อาคารใต้ผิวดิน อาคารเพื่อการสาธารณะต่าง ๆ อาคารผู้โดยสารสนามบิน

สถานีรถไฟฟ้า โรงมหรสพ โรงภาพยนต์ โรงแรม สถานบริการ ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น มีพิกัดแรงดันไฟฟ้า  0.6/1 kV พิกัดอุณหภูมิ 90 องศาเซลเซียส มีทั้งแบบสายแกนเดี่ยวและสายหลายแกน

สายควันน้อย ไร้ฮาโลเจนผลิตโดยใช้วัสดุที่พัฒนาขึ้นมาโดยเฉพาะเพื่อให้มีคุณสมบัติพิเศษ 3 ประการในด้านความปลอดภัยเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ ได้แก่

  • ต้านเปลวเพลิง (Flame retardant): หน่วงเหนี่ยวการลุกลามไฟ ต้านทานเปลวไฟไม่ให้ลุกลามไปตามสายไฟฟ้า ทดสอบตามมาตรฐาน IEC 60332-1 และ IEC 60332-3
  • ควันน้อย (Low smoke): ปริมาณควันไฟที่เกิดจากการเผาไหม้สายไฟน้อย ทดสอบตามมาตรฐาน IEC 61034-2
  • ไม่ปล่อยก๊าซกรด (No acid gases emission): สายไฟฟ้าปราศจากสารประกอบของธาตุฮาโลเจน (Halogen free หรือ Zero halogen) จึงไม่ปล่อยก๊าซพิษที่เป็นกรดเมื่อถูกไฟไหม้ ทดสอบตามมาตรฐาน IEC 60754-1 และ IEC 60754-2

สายควันน้อย ไร้ฮาโลเจนสามารถผลิตให้มีโครงสร้างเหมือนกับสายแรงดันต่ำทั่วไป แต่จะไม่ใช้ PVC เป็นส่วนประกอบของสาย เนื่องจากธรรมชาติของ PVC จะปล่อยควันไฟหนาทึบปริมาณมาก และมีส่วนประกอบของสารฮาโลเจนที่ก่อให้เกิดก๊าซพิษที่มีฤทธิ์เป็นกรดเมื่อถูกไฟไหม้

·         0.6/1 kV LSHF-XLPE สายไฟฟ้าแกนเดี่ยว ตัวนำทองแดงตีเกลียว หุ้มฉนวนชั้นเดียว ไม่มีเปลือกนอก ฉนวนทำจากวัสดุครอสลิงกด์ชนิดพิเศษที่มีคุณสมบัติต้านเปลวเพลิง ควันน้อย และไม่ปล่อยก๊าซกรด สามารถใช้ติดตั้งร้อยท่อภายในอาคารได้เหมือนสาย 60227IEC01 (THW) 

·         0.6/1 kV XLPE/LSHF สายไฟฟ้าตัวนำทองแดงตีเกลียว หุ้มฉนวนครอสลิงกด์และมีเปลือกนอกที่มีคุณสมบัติต้านเปลวเพลิง ควันน้อย และไม่ปล่อยก๊าซกรด มีทั้งชนิดแกนเดี่ยวและหลายแกน มีโครงสร้างสายเหมือนกับสาย CV สามารถใช้ติดตั้งร้อยท่อ และวางบนรางเคเบิลได้เหมือนสาย CV

1.5 สายทนไฟ (Fire Resistant Cables: FRC)

เป็นสายไฟฟ้าที่มีคุณสมบัติทนไฟ (Fire resistance) คือความสามารถในการรักษาความสมบูรณ์ของวงจรไฟฟ้า (Circuit integrity) ไว้ได้ในขณะที่เกิดเพลิงไหม้ สายทนไฟสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่องแม้ในขณะที่สายถูกไฟไหม้ เนื่องจากโครงสร้างสายมีชั้นเทปไมก้าพันบนตัวนำทองแดงทำหน้าที่ป้องกันไฟ (Fire barrier) สายทนไฟใช้สำหรับวงจรไฟฟ้าช่วยชีวิตหรือวงจรฉุกเฉินต่างๆที่ต้องสามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่องเมื่อเกิดเหตุที่ต้องอพยพหนีภัย เช่น ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้และระบบสื่อสารฉุกเฉิน ระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉิน ระบบลิฟต์ดับเพลิง ระบบเครื่องสูบน้ำและระบบดับเพลิงอัตโนมัติ เป็นต้น สายทนไฟมีพิกัดแรงดันไฟฟ้า  0.6/1 kV พิกัดอุณหภูมิ 90 องศาเซลเซียส มีทั้งแบบสายแกนเดี่ยวและสายหลายแกน

นอกจากจะมีคุณสมบัติทนไฟแล้ว สายทนไฟยังมีคุณสมบัติต้านเปลวเพลิง ควันน้อย และไม่ปล่อยก๊าซกรด เช่นเดียวกับสายควันน้อย ไร้ฮาโลเจนอีกด้วย สายทนไฟมีคุณสมบัติพิเศษดังนี้

  • ทนไฟ (Fire resistance) สายไฟสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้เป็นปกติเมื่อถูกไฟไหม้ ทดสอบตามมาตรฐาน BS 6387 หรือ IEC 60331
  •  ต้านเปลวเพลิง (Flame retardant) หน่วงเหนี่ยวการลุกลามไฟ ต้านทานเปลวไฟไม่ให้ลุกลามไปตามสายไฟฟ้า ทดสอบตามมาตรฐาน IEC 60332-1 และ IEC 60332-3
  • ควันน้อย (Low smoke) ปริมาณควันไฟที่เกิดจากการเผาไหม้สายไฟน้อย ทดสอบตามมาตรฐาน IEC 61034-2
  • ไม่ปล่อยก๊าซกรด (No acid gases emission) สายไฟฟ้าปราศจากสารประกอบของธาตุฮาโลเจน (Halogen free หรือ Zero halogen) จึงไม่ปล่อยก๊าซพิษที่เป็นกรดเมื่อถูกไฟไหม้ ทดสอบตามมาตรฐาน IEC 60754-1 และ IEC 60754-2

·         0.6/1 kV MICA/LSHF-XLPE สายไฟฟ้าทนไฟแกนเดี่ยว ตัวนำทองแดงตีเกลียวและพันด้วยเทปกันไฟไมก้า หุ้มฉนวนชั้นเดียว ไม่มีเปลือกนอก ฉนวนทำจากวัสดุครอสลิงกด์ชนิดพิเศษที่มีคุณสมบัติต้านเปลวเพลิง ควันน้อย และไม่ปล่อยก๊าซกรด สามารถใช้ติดตั้งร้อยท่อภายในอาคารได้เหมือนสาย 60227IEC01 (THW)

·         0.6/1 kV MICA/XLPE/LSHF สายไฟฟ้าตัวนำทองแดงตีเกลียวและพันด้วยเทปกันไฟไมก้า หุ้มฉนวนครอสลิงกด์และมีเปลือกนอกที่มีคุณสมบัติต้านเปลวเพลิง ควันน้อย และไม่ปล่อยก๊าซกรด มีทั้งชนิดแกนเดี่ยวและหลายแกน มีโครงสร้างสายเหมือนกับสาย CV สามารถใช้ติดตั้งร้อยท่อ และวางบนรางเคเบิลได้เหมือนสาย CV

2. สายไฟฟ้าแรงดันปานกลาง (Medium voltage cables)

สายไฟฟ้าพิกัดแรงดันไฟฟ้าสูงกว่า 1 kV ขึ้นไปถึง 36 kV มีโครงสร้างสายหลายแบบขึ้นอยู่กับลักษณะการติดตั้งใช้งาน โดยทั่วไปเป็นสายหุ้มฉนวน XLPE โดยสายตัวนำอะลูมิเนียมใช้สำหรับการติดตั้งเดินลอยในอากาศ และสายตัวนำทองแดงใช้สำหรับการติดตั้งรูปแบบอื่นๆ เช่น ติดตั้งฝังดิน เดินร้อยท่อ วางบนรางเคเบิล เป็นต้น ซึ่งสายไฟฟ้าแรงดันปานกลางก็เป็น สายไฟฟ้าที่ใช้งานในระบบไฟฟ้าทั่วไป เช่นกัน

SAC (Spaced Aerial Cable) เป็นสายไฟฟ้าอากาศตัวนำอะลูมิเนียม หุ้มฉนวนและเปลือก Cross-linked polyethylene (XLPE) ผลิตตามมาตรฐาน มอก.2341-2564 มีพิกัดแรงดันไฟฟ้า 25kV และ 35kV สาย SAC เป็นสายไฟฟ้าชนิดหุ้มฉนวนไม่เต็มพิกัด (Partial insulated cable) และไม่มีชิลด์โลหะที่ต่อลงดิน ดังนั้นสาย SAC จึงต้องติดตั้งเดินลอยในอากาศบนฉนวนลูกถ้วยหรือ Cable Spacer ไม่สามารถเดินร้อยท่อ วางบนรางเคเบิล หรือวางสัมผัสกับพื้นหรือสิ่งก่อสร้างต่างๆได้ และไม่สามารถสัมผัสกับสายเฟสข้างเคียงได้

·         MXLP เป็นสายไฟฟ้าแรงดันปานกลางที่มีตัวนำทองแดง หุ้มฉนวน XLPE มีสกรีนโลหะที่ทำจากเทปทองแดงหรือเส้นลวดทองแดง และมีเปลือกนอกเป็น PE หรือ PVC มีพิกัดแรงดันไฟฟ้า 1.8/3(3.6) kV, 3.6/6(7.2) kV, 6/10(12) kV, 8.7/15(17.5) kV, 12/20(24) kV และ 18/30(36) kV ผลิตตามมาตรฐาน IEC 60502 หรือ มอก.2143-2546 มีทั้งชนิดสายแกนเดี่ยวและสาย 3 แกน ใช้ติดตั้งร้อยท่อ วางบนรางเคเบิล ร้อยท่อฝังดิน หรือฝังดินโดยตรง โครงสร้างสายที่นิยมใช้ได้แก่

  • Cu/XLPE/CWS/PE 1-Core สายแกนเดี่ยว ตัวนำทองแดง หุ้มฉนวน XLPE มีสกรีนโลหะชนิดลวดทองแดง หุ้มเปลือกนอก PE
  • Cu/XLPE/CTS/PE 3-Core สาย 3 แกน ตัวนำทองแดง หุ้มฉนวน XLPE มีสกรีนโลหะชนิดเทปทองแดง หุ้มเปลือกนอก PE
  • Cu/XLPE/CWS/PVC 1-Core สายแกนเดี่ยว ตัวนำทองแดง หุ้มฉนวน XLPE มีมีสกรีนโลหะชนิดลวดทองแดง หุ้มเปลือกนอก PVC
  • Cu/XLPE/CTS/PVC 3-Core สาย 3 แกน ตัวนำทองแดง หุ้มฉนวน XLPE มีมีสกรีนโลหะชนิดเทปทองแดง หุ้มเปลือกนอก PVC

นอกจากนี้ยังสามารถผลิตโดยเพิ่มชั้นป้องกันพิเศษ เช่น เกราะอาร์เมอร์ หรือเปลือกตะกั่ว เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานในสภาพแวดล้อมที่ต้องการการปกป้องสายมากเป็นพิเศษ เช่น การติดตั้งฝังดินโดยตรง การติดตั้งในโรงงานอุตสาหกรรม โรงกลั่น และปิโตรเคมี เป็นต้น

3. สายไฟฟ้าแรงดันสูงและแรงดันสูงพิเศษ (High and Extra-high voltage cables)

สายไฟฟ้าแรงดันสูงที่ใช้ติดตั้งใต้ดินในประเทศไทยเป็นสายไฟฟ้าพิกัดแรงดัน 69 kV และ 115 kV เป็นส่วนใหญ่ โดยมีใช้สายพิกัดแรงดันไฟฟ้า 230 kV หรือสูงกว่าในระบบสายส่งไฟฟ้าใต้ดินบางส่วนรวมถึงในโรงไฟฟ้า สายไฟฟ้าแรงดันสูงเหล่านี้ มีตัวนำเป็นทองแดง หุ้มฉนวน XLPE มีสกรีนโลหะ มีชั้นป้องกันน้ำ และหุ้มเปลือกนอกด้วย PE, PVC หรือ FRPVC

·         69 kV และ 115 kV HXLP สายไฟฟ้าใต้ดินแรงดันสูง 69 kV และ 115 kV ผลิตตามมาตรฐาน มอก.2202-2547 มีตัวนำเป็นทองแดงตีเกลียว หุ้มฉนวน XLPE มีชิลด์เป็นลวดทองแดง (Copper Wire Shield) มีชั้นป้องกันน้ำที่ทำจาก Laminated Aluminium Tape และ Water blocking tape เพื่อป้องกันการซึมผ่านของน้ำ มีเปลือกนอกเป็น PE (ชนิด Cu/XLPE/CWS/LAT/PE) ซึ่งเปลือกนอกจะทำเป็นสันโดยรอบ (Ribbed Oversheath) เพื่อช่วยลดแรงเสียดทานระหว่างลากสาย นอกจากนี้ยังมีสายชนิดที่ผ่านการทดสอบต้านเปลวเพลิงตามมาตรฐาน IEC 60332-3 category A ซึ่งมีเปลือกนอกเป็น FRPVC (ชนิด Cu/XLPE/CWS/LAT/FRPVC) สำหรับใช้ติดตั้งในพื้นที่ที่ต้องการความปลอดภัยมากกว่าปกติเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้

·         230 kV EHXLP สายไฟฟ้าใต้ดินแรงดันสูง 230 kV ตัวนำทองแดงตีเกลียว หุ้มฉนวน XLPE มี Corrugated Aluminium Sheath ที่ทำหน้าที่เป็นชิลด์โลหะและยังช่วยในการป้องกันน้ำ ความชื้น และปกป้องสายจากแรงกระแทกกดทับจากภายนอกได้ด้วย มีเปลือกนอกเป็น PE (ชนิด Cu/XLPE/CAS/PE) หรือ PVC (ชนิด Cu/XLPE/CAS/PVC)

4. สายไฟฟ้าที่ใช้งานในระบบไฟฟ้าทั่วไปสำหรับวงจรควบคุม (Control Cable)

มีลักษณะเป็นสายหลายแกนที่มีตัวนำขนาดเล็ก โดยทั่วไปไม่เกิน 10 ตร.มม. แต่อาจมีจำนวนแกนมากถึง 30 แกนในสายเคเบิลเส้นเดียว โดยทั่วไปผลิตตามมาตรฐาน IEC 60502-1, JIS C-3401 หรือ มอก.838-2531 มีตัวนำเป็นทองแดง หุ้มฉนวนและเปลือก PVC พิกัดแรงดันไฟฟ้า 600V มีทั้งชนิดที่มีและไม่มีชิลด์

CVV เป็นสายไฟฟ้าสำหรับวงจรควบคุม มีตัวนำเป็นทองแดง หุ้มฉนวนและเปลือก PVC โดยทั่วไปตัวนำเป็นทองแดงตีเกลียว แต่สามารถผลิตตัวนำทองแดงเส้นฝอยกรณีที่ต้องการความอ่อนตัวของสายมากเป็นพิเศษได้

CVV-S เป็นสายไฟฟ้าสำหรับวงจรควบคุม มีตัวนำเป็นทองแดง หุ้มฉนวนและเปลือก PVC เหมือนกันกับสาย CVV แต่เพิ่มชิลด์เทปทองแดง (Copper tape shield) เพื่อป้องกันสัญญาณรบกวน สามารถผลิตเป็นตัวนำทองแดงเส้นฝอยกรณีที่ต้องการความอ่อนตัวของสายมากเป็นพิเศษได้

สุดท้ายแล้วนั้นจะเห็นได้ว่า สายไฟฟ้าที่ใช้งานในระบบไฟฟ้าทั่วไป มีหลากหลายชนิดแตกต่างกันไป เพราะฉะนั้นการเลือกใช้สายไฟฟ้า จึงต้องเลือกให้ถูกต้องเหมาะสมกับลักษณะการใช้งาน และรูปแบบวิธีการติดตั้งต้องถูกต้องสอดคล้องกับมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าด้วย เพราะการเลือกใช้และติดตั้งสายไฟฟ้าให้ถูกต้องเหมาะสม เป็นสิ่งสำคัญที่ส่งผลต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของผู้คนที่ใช้งานหรือปฏิบัติงานกับระบบไฟฟ้านั้น


สายไฟฟ้าสำหรับอาคารและที่อยู่อาศัยทั่วไป

More Catalog

Price List

Extra high – high voltage Power cables

Medium voltage power cables

Low Voltage Power and Control Cables

Fire Resistant and Low Smoke Halogen Free cables 

Telecommunication Cables

Building Wire and Bare Conductor


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

  • Line official :  @phelpsdodge_th
  • Tel. ‭02 680 5800‬
  • E-mail : marketing@pdcable.com , export@pdcable.com

www.pdcable.com

สายไฟสำหรับการติดตั้งเดินลอยในอากาศ

การเดินสายไฟเปิดหรือเดินลอย (Open Wiring) บนวัสดุฉนวน เป็นวิธีการเดินสายไฟรูปแบบหนึ่งที่พบเห็นได้ทั่วไป เป็นการเดินสายไฟแบบเปิดโล่ง โดยสายไฟจะถูกแขวนลอยอยู่ในอากาศ และมีตุ้มหรือลูกถ้วยฉนวนเป็นตัวจับยึดสาย ส่วนสายที่ใช้ต้องเป็นสายแกนเดี่ยวชนิดมีฉนวนหุ้ม

สายไฟฟ้าแรงดันต่ำที่เหมาะสำหรับการเดินลอยบนตุ้มฉนวนหรือลูกถ้วยได้แก่

สายไฟ เดินลอยในอากาศ

นอกจากนี้ยังสามารถใช้สายไฟชนิด NYY 450/750 V ชนิดแกนเดียวติดตั้งแบบเดินลอยได้เช่นกัน แต่เนื่องจากสายไฟมีขนาดใหญ่และน้ำหนักสายค่อนข้างมากจึงไม่เป็นที่นิยม

การติดตั้งสายไฟแบบเดินลอยในอากาศโดยใช้ตุ้มหรือลูกถ้วยนั้น สามารถใช้สายไฟ THW-A ที่มีตัวนำเป็นอะลูมิเนียมได้ ซึ่งมีข้อดีคือสายไฟมีน้ำหนักเบากว่าสายตัวนำทองแดงและราคาไม่แพง #แต่มีข้อควรระวังคือ สายไฟ THW-A มีตัวนำเป็นอะลูมิเนียมจึงไม่สามารถใช้ติดตั้งภายในอาคารได้ตามมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าฯ

ส่วนการใช้สายไฟตัวนำทองแดง เช่น 60227 IEC 01 (THW) เดินสายเปิดหรือเดินลอยบนวัสดุฉนวนในอาคารนั้น มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าฯ อนุญาตให้ทำได้เฉพาะในโรงงานอุตสาหกรรม งานเกษตรกรรม และงานแสดงสินค้าเท่านั้น

ข้อมูลสายไฟฟ้าสำหรับการ เดินสายไฟภายในบ้าน 

 

เฟ้ลปส์ ดอด์จ ผู้ผลิตสายไฟฟ้าที่ดีที่สุด

Catalog    Price List 

Building Wire and Bare Conductor

Low voltage Power and Control Cables

เพราะเรื่องของสายไฟ..ไม่ใช่อะไรก็ได้
เฟ้ลปส์ ดอด์จ Life Line ทุกสายคือชีวิต

พบตัวแทนจำหน่ายสายไฟฟ้าเฟ้ลปส์ ดอด์จ ทั่วประเทศ ได้ที่ http://www.pdcable.com/distribution-2/

Tel. ‭02 680 5800‬
www.pdcable.com
Line@: @phelpsdodge_th

สายไฟและมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก.

แบบทั่วไป และ แบบบังคับ ต่างกันอย่างไร ?

สายไฟ มาตรฐานสายไฟ

วันนี้ เฟ้ลปส์ ดอด์จ จำขอนำมาตรฐาน มอก.ที่เกี่ยวกับสายไฟมาฝาก ซึ่งบทความนี้จะว่าด้วยเรื่องมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก. แต่ก่อนอื่น ขอให้ได้ทราบความหมายของ มอก.กันก่อน ก่อนที่จะแสดงข้อมูลของมาตรฐานที่ใช้กับสายไฟมาให้ทราบค่ะ

มอก. (Thai Industrial Standard) : มอก.เป็นคำย่อมาจาก “มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม” หมายถึงข้อกำหนดทางวิชาการที่ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(สมอ.)ได้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นแนวทางแก่ผู้ผลิตในการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพในระดับที่เหมาะสมกับการใช้งานมากที่สุดโดยจัดทำออกมาเป็นเอกสารและจัดพิมพ์เป็นเล่ม

ทั้งนี้ความปลอดภัยของผู้บริโภคเป็นสิ่งสำคัญ การใช้สินค้าที่มีเครื่องหมาย มอก.มีประโยชน์ดังนี้

1.  ช่วยในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า และ สร้างความปลอดภัยในการนำไปใช้
2. ในกรณีที่ชำรุด สามารถหาอะไหล่ได้ง่าย เพราะสินค้ามีมาตรฐานเดียวกัน ใช้ทดแทนกันได้
3. ธีการบำรุงรักษาใกล้เคียงกัน ไม่ต้องเรียนรู้ใช้สินค้าใหม่ทุกครั้งที่ซื้อ
4. ได้สินค้าคุณภาพดีขึ้นในราคาที่เป็นธรรมคุ้มค่ากับการใช้งาน

สำหรับความต่างของเครื่องหมาย มอก. นั้น มีด้วยกันดังนี้

1.เครื่องหมายมาตรฐานแบบทั่วไป เป็นเครื่องหมายที่แสดงบนผลิตภัณฑ์ที่เป็นมาตรฐานไม่บังคับ ผู้ผลิตสามารถยื่นขอใบอนุญาตแสดงเครื่องหมายมาตรฐานได้ด้วยความสมัครใจ ซึ่งเป็นมาตรฐานที่กำหนดออกมามากที่สุด โดยปัจจุบันมีมากกว่า 2,000 รายการ

สามารถเข้าดูรายการสินค้า มอก. ทั่วไป – สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ได้ที่
http://appdb.tisi.go.th/tis_dev/p3_tis/p3tis.php?data=B

2.เครื่องหมายมาตรฐานแบบบังคับ

เป็นเครื่องหมายที่แสดงบนผลิตภัณฑ์ที่มีกฎหมายให้ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยให้แก่ผู้บริโภคและป้องกันความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่เศรษฐกิจของประเทศ ผู้ผลิต ผู้นำเข้า และผู้จำหน่าย จะต้องผลิตและจำหน่ายเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่ต้องเป็นไปตามมาตรฐานเท่านั้น ปัจจุบัน สมอ.ได้กำหนดออกมาแล้ว 68 รายการ

สามารถเข้าดูรายการสินค้า มอก. บังคับ – สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ได้ที่
http://appdb.tisi.go.th/tis_dev/p3_tis/p3tis.php?data=A

ทั้งนี้ประเทศไทยเรามีมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) สำหรับการผลิตและจำหน่ายสายไฟฟ้าด้วยเช่นกัน โดยแบ่งเป็นมาตรฐานแบบทั่วไป และ มาตรฐานแบบบังคับ
โดยวันนี้ขอนำมาตรฐาน มอก.ของสายไฟฟ้าเฟ้ลปส์ ดอด์จ มาให้ทราบกันดังนี้

 มอก.สายไฟฟ้ามาตรฐานแบบทั่วไป ได้แก่

1.มอก. 64-2517 : สายไฟตัวนำทองแดงเปลือยรีดแข็ง
2.มอก. 838-2531 : สายไฟฟ้าสําหรับวงจรควบคุม
3.มอก. 2143-2546 : เช่น สายไฟ0.6/1 kV CV, 12/20 kV XLPE Cable
4.มอก. 2341-2555 : สาย สายไฟ SAC (Spaced Aerial Cable)

มอก.สายไฟฟ้ามาตรฐานแบบบังคับ ได้แก่

1.มอก. 11-2553 : เช่น สายไฟ THW, สายไฟ NYY, สายไฟ VCT
2.มอก. 85-2548 : สายไฟตัวนำอะลูมิเนียมเปลือย AAC, ACSR
3.มอก. 293-2541 : สายไฟ THW-A, สายไฟ WPC
4.มอก. 2202-2547 : สายไฟ 69 kV และ สายไฟ 115 kV XLPE Cable
5.มอก. 2434-2552 : สายโทรศัพท์ AP, AP(8)

เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคในการเลือกใช้สินค้าต่างๆ และเพื่อความปลอดภัย มั่นใจในผลิตภัณฑ์และผุ้ผลิตสินค้า อย่าลืมเลือกใช้สินค้าที่ได้รับเครื่องหมาย มอก. นะคะ

ข้อมูลเพิ่มเติม : มาตรฐานสายไฟฟ้า 

สีของฉนวนสายไฟตามมาตรฐาน

สายไฟสำหรับเดินภายในบ้าน 

เฟ้ลปส์ ดอด์จ ผู้ผลิตสายไฟฟ้าที่ดีที่สุด

Catalog    Price List 

Building Wire and Bare Conductor

Low voltage Power and Control Cables

เพราะเรื่องของสายไฟ..ไม่ใช่อะไรก็ได้
เฟ้ลปส์ ดอด์จ Life Line ทุกสายคือชีวิต
#สายไฟที่ดีที่สุดต้องเฟ้ลปส์ดอด์จ

พบตัวแทนจำหน่ายสายไฟฟ้าเฟ้ลปส์ ดอด์จ ทั่วประเทศ ได้ที่ http://www.pdcable.com/distribution-2/

📞Tel. ‭02 680 5800‬
🌏www.pdcable.com
📱Line@: @phelpsdodge_th

รู้หรือไม่? สายไฟฟ้ามาตรฐาน มอก.11-2553 ของ เฟ้ลปส์ ดอด์จ ทุกชนิด

ผ่านการรับรองว่าปราศจากสารตะกั่วและสารอันตรายตามข้อกำหนด RoHS ของสหภาพยุโรป

สายไฟ thw

แล้วข้อกำหนด RoHS คืออะไร?

RoHS คือ มาตรฐานเพื่อสิ่งแวดล้อม โดยย่อมาจาก Restriction of Hazardous Substances เป็นข้อกำหนดที่ 2002/95/EC ของสหภาพยุโรป (EU) ว่าด้วยเรื่องของการใช้สารที่เป็นอันตรายในอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งหมายความรวมถึงเครื่องใช้ทุกชนิด ที่ต้องอาศัยไฟฟ้าในการทำงาน เช่น โทรทัศน์ เตาอบไมโครเวฟ วิทยุ เป็นต้นซึ่งหมายความว่า ชิ้นส่วนทุกอย่างที่ประกอบเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้านั้น ตั้งแต่แผงวงจร อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ไปจนถึงสายไฟ 

สายไฟ thw

โดยข้อกำหนดดังกล่าว ว่าด้วยการกำหนดการใช้สารที่เป็นอันตราย จำกัดปริมาณในปัจจุบัน กำหนดไว้ 6 ชนิด ดังนี้

1.ตะกั่ว (Pb) ไม่เกิน 0.1% โดยน้ำหนัก
2.ปรอท (Hg) ไม่เกิน 0.1% โดยน้ำหนัก
3.แคดเมียม (Cd) ไม่เกิน 0.01% โดยน้ำหนัก
4.เฮกซะวาเลนท์ (Cr-VI) ไม่เกิน 0.1% โดยน้ำหนัก
5.โพลีโบรมิเนต ไบเฟนนิลส์ (PBB) ไม่เกิน 0.1% โดยน้ำหนัก
6.โพลีโบรมิเนต ไดเฟนนิล อีเธอร์ (PBDE) ไม่เกิน 0.1% โดยน้ำหนัก

แต่ก็มีข้อยกเว้นสำหรับอุปกรณ์บางอย่าง ที่ยังไม่สามารถใช้สารอื่นมาทดแทนได้ หรือสารที่ใช้ทดแทน มีอันตรายมากกว่า เช่น หลอดฟลูออเรสเซนต์ ซึ่งมีสารปรอทเป็นส่วนประกอบ ตะกั่วในเหล็กอัลลอย นอกจากนี้ เครื่องมือด้านการแพทย์ และการทหาร ก็อยู่ในข้อยกเว้น

สายไฟ thw

สำหรับเจ้าของบ้าน เจ้าของอาคาร ที่เลือกใช้สายไฟฟ้าเฟ้ลปส์ ดอด์จ ในการติดตั้ง จึงมั่นใจได้ว่า สายไฟฟ้าจากเฟ้ลปส์ ดอด์จ เป็นสายที่มีความปลอดภัยสูงสุด ทั้งต่อผู้ใช้งานและต่อสิ่งแวดล้อม 

เฟ้ลปส์ ดอด์จ ผู้ผลิตสายไฟฟ้าที่ดีที่สุด

Catalog    Price List 

Building Wire and Bare Conductor

Low voltage Power and Control Cables

สายไฟ thw

เพราะเรื่องของสายไฟ..ไม่ใช่อะไรก็ได้
เฟ้ลปส์ ดอด์จ Life Line ทุกสายคือชีวิต
#สายไฟที่ดีที่สุดต้องเฟ้ลปส์ดอด์จ

พบตัวแทนจำหน่ายสายไฟฟ้าเฟ้ลปส์ ดอด์จ ทั่วประเทศ ได้ที่ http://www.pdcable.com/distribution-2/

📞Tel. ‭02 680 5800‬
🌏www.pdcable.com
📱Line@: @phelpsdodge_th

สายไฟฟ้าแต่ละชนิดใช้งานต่างกันอย่างไร?

“จำง่ายๆ สายไฟฟ้า แต่ละชนิดใช้งานต่างกันอย่างไร?”  วันนี้เฟ้ลปส์ ดอด์จ #รวมชนิดสายไฟฟ้า ที่ต้องใช้ติดตั้งใน #งานระบบไฟฟ้าสำหรับอาคารบ้านเรือนทั่วไป มาให้ทราบกันค่ะ ว่าในการติดตั้งงานระบบไฟฟ้าแต่ละรูปแบบนั้น ช่างไฟฟ้าจะเลือกใช้สายไฟฟ้าชนิดใดบ้าง? ซึ่งจะเป็นชนิดสายไฟฟ้า ที่มีวางจำหน่ายตามท้องตลาดโดยทั่วไป หาซื้อได้ง่ายตามร้านขายอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ซึ่งสามารถเลือกซื้อได้ทั้งแบบม้วน  หรือ สายไฟฟ้าแบบแบ่งตัด ตามวัตถุประสงค์และจำนวนขนาดที่ต้องการของช่างไฟฟ้าที่ต้องทำการติดตั้งหน้างานค่ะ  มีสายไฟฟ้าชนิดใดกันบ้างนั้น มีข้อมูลดังนี้ค่ะ

สายไฟฟ้า

โดยทั่วไป ชนิดสายไฟฟ้าหลักๆ ที่ใช้ติดตั้งในงานระบบ มีด้วยกันดังนี้ค่ะ 🔌

 

1. 60227 IEC 01 (THW) สายไฟร้อยท่อ สำหรับบ้านและอาคารทั่วไป สายไฟสำหรับเป็นสายเมนเดินลอยในอากาศ (ขนาด 1.5 – 400 ตร.มม.)

 

2. THW-A   สายไฟฟ้าสำหรับเป็นสายเมนเดินลอยในอากาศนอกอาคาร

(ขนาด 10 – 300 ตร.มม.)

 

3. NYY  สายไฟฟ้าสำหรับสายเมน สายไฟสนาม สายไฟถนน สายไฟสำหรับวางบนรางเคเบิล ร้อยท่อ หรือฝังดิน

(1 แกน ขนาด 1 – 500 ตร.มม. , 2 – 4 แกน ขนาด 50 – 300 ตร.มม.)

(NYY-G 2 – 4 แกน + สายดิน ขนาด 25 – 300 ตร.มม.)

 

4. CV  สายไฟฟ้าสำหรับสายเมน สายไฟวางบนรางเคเบิลนอกอาคาร ร้อยท่อ หรือฝังดิน 

(1 แกน ขนาด 1.5 – 630 ตร.มม. , 2 – 4 แกน ขนาด 1.5 – 400 ตร.มม.)

สายไฟฟ้า

5. CV-FD สายไฟฟ้าสำหรับสายเมน สายไฟวางบนรางเคเบิลในอาคาร ร้อยท่อ

(1 แกน ขนาด 1.5 – 630 ตร.มม. , 2 – 4 แกน ขนาด 1.5 – 400 ตร.มม.)

 

6. PdfireTec (FRC) สายทนไฟสำหรับวงจรไฟฟ้าช่วยชีวิต วงจรไฟฉุกเฉิน

(1 แกน ขนาด 1.5 – 630 ตร.มม.)

 

7. VAF สายไฟฟ้าสำหรับเดินเกาะผนัง (ตีกิ๊บ) ในบ้านและอาคารทั่วไป

(ขนาด 1 – 16 ตร.มม.) , (VAF-G ขนาด 1 – 16 ตร.มม.)

สายไฟ

8. Station wire  สายโทรศัพท์ในอาคาร  (2-6 แกน ขนาด 0.5 – 0.65 มม.)

 

9. VCT  สายไฟฟ้าสำหรับต่อเข้ามอเตอร์ เครื่องจักร อุปกรณ์ไฟฟ้า

(1-4 แกน ขนาด 4 – 35 ตร.มม.) , (VCT-G 2-4 แกน + สายดิน ขนาด 4 – 35 ตร.มม.)

 

10. PdsolarTec (PV Cable) สายไฟฟ้าสำหรับโซลาร์เซลล์โดยเฉพาะ

(ขนาด 2.5 – 240 ตร.มม.)

เพราะเรื่องของสายไฟ..ไม่ใช่อะไรก็ได้
เฟ้ลปส์ ดอด์จ Life Line ทุกสายคือชีวิต
#สายไฟที่ดีที่สุดต้องเฟ้ลปส์ดอด์จ

มั่นใจ ปลอดภัย ติดตั้งด้วยงานคุณภาพ ต้องสายไฟฟ้าเฟ้ลปส์ ดอด์จ
#สายไฟที่ช่างมืออาชีพทุกคนเลือกใช้

พบตัวแทนจำหน่ายสายไฟฟ้าเฟ้ลปส์ ดอด์จ ทั่วประเทศ ได้ที่ http://www.pdcable.com/distribution-2/

📞Tel. ‭02 680 5800‬
🌏www.pdcable.com
📱Line@: @phelpsdodge_th

สังเกตสายไฟฟ้าในบ้าน ถึงเวลาควรเปลี่ยนแล้วหรือยัง?

 

 

จากความรู้ครั้งที่แล้ว เฟ้ลปส์ ดอด์จ ได้นำข้อมูลมาให้ทราบกันว่า ปัจจัยใดบ้างที่ทำให้สายไฟฟ้าเกิดเสื่อมสภาพได้ ซึ่งปัจจัยดังกล่าวที่ทำให้สายไฟฟ้าเสื่อมสภาพนั้น ได้แก่

1.แสงแดด – รังสี UV 2.ความร้อน 3.ความชื้น  ทั้งนี้สำหรับผู้อยู่อาศัยเองก็สามารถตรวจสอบสภาพสายไฟฟ้าเบื้องต้นได้ โดยวิธีสังเกตความผิดปกติของสายไฟฟ้าในบ้านของเรา โดยสามารถสังเกตความผิดปกติดังต่อไปนี้

1.ตรวจสอบสภาพฉนวนหรือเปลือกชั้นนอกของสายไฟฟ้า ควรเปลี่ยนสายใหม่หากพบฉนวนหรือเปลือกกรอบแตก เปื่อยยุ่ย เป็นรอยแตกลายงา สายสีซีดจาง หรือกรณีสาย VAF เปลี่ยนสีจากสีขาวเป็นสีเหลืองเข้มหรือน้ำตาล

2.ตรวจสอบขั้วสายไฟ และจุดต่อสาย หากพบคราบสนิมทองแดงสีเขียว หรือทองแดงผุกร่อน ควรเปลี่ยนสายใหม่

3.หากพบอุปกรณ์ป้องกันไฟดูดตัดวงจรโดยไม่ทราบสาเหตุบ่อยๆ โดยเฉพาะช่วงที่อากาศมีความชื้นสูง หรือช่วงหน้าฝน อาจมีสาเหตุจากสายไฟฟ้าเสื่อมสภาพจนเกิดไฟรั่วในระบบไฟฟ้า ควรให้ช่างผู้ชำนาญการเข้ามาตรวจสอบ

คำเตือน: การตรวจสอบสายไฟและระบบไฟฟ้าควรทำด้วยความระมัดระวัง อาจจำเป็นต้องตัดกระแสไฟฟ้าเพื่อความปลอดภัย และควรดำเนินการโดยผู้มีความรู้หรือช่างผู้ชำนาญการ

ทั้งนี้การเลือกสายไฟฟ้าในการติดตั้งนั้น เป็นการลงทุนระยะยาว เพราะทุกคนต่างก็คาดหวังว่าเมื่อติดตั้งสายไฟฟ้าไปแล้ว จะสามารถใช้งานได้ยาวนานเท่าๆกับอายุการใช้งานของบ้านหรืออาคาร โดยไม่ต้องแก้ไขติดตั้งใหม่ ดังนั้นจึงควรใส่ใจและเลือกใช้สายไฟฟ้าที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน และมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

1.สายไฟฟ้าที่ได้มาตรฐาน ตัวนำทองแดงเต็มเส้น และมีความบริสุทธิ์ 99.99% มีค่าการนำไฟฟ้าที่สูง

2.ฉนวนและเปลือกผลิตจาก PVC ใหม่คุณภาพสูง สามารถทนความร้อนได้ดี ตรงตามมาตรฐานกำหนด ไม่เปราะ หรือ แตกหักง่าย มีความแข็งแรง ทนทาน อายุการใช้งานที่ยาวนาน

3.ใส่ใจเลือกใช้สายไฟฟ้าที่มีการควบคุมการผลิต และผ่านการทดสอบด้วยมาตรฐานระดับสูง เพื่อความปลอดภัยสูงสุดในการใช้งาน

 

1.ตรวจสอบสภาพฉนวนหรือเปลือกชั้นนอกของสายไฟฟ้า ควรเปลี่ยนสายใหม่หากพบฉนวนหรือเปลือกกรอบแตก เปื่อยยุ่ย

เป็นรอยแตกลายงา สายสีซีดจาง หรือกรณีสาย VAF เปลี่ยนสีจากสีขาวเป็นสีเหลืองเข้มหรือน้ำตาล

คำเตือน: การตรวจสอบสายไฟและระบบไฟฟ้าควรทำด้วยความระมัดระวัง อาจจำเป็นต้องตัดกระแสไฟฟ้าเพื่อความปลอดภัย และควรดำเนินการโดยผู้มีความรู้หรือช่างผู้ชำนาญการ

 

2.ตรวจสอบขั้วสายไฟ และจุดต่อสาย หากพบคราบสนิมทองแดงสีเขียว หรือทองแดงผุกร่อน ควรเปลี่ยนสายใหม่

คำเตือน: การตรวจสอบสายไฟและระบบไฟฟ้าควรทำด้วยความระมัดระวัง อาจจำเป็นต้องตัดกระแสไฟฟ้าเพื่อความปลอดภัย และควรดำเนินการโดยผู้มีความรู้หรือช่างผู้ชำนาญการ

 

3.สังเกตอุปกรณ์ป้องกันไฟดูดตัดวงจรโดยไม่ทราบสาเหตุหรือไม่? หากพบอุปกรณ์ป้องกันไฟดูดตัดวงจรโดยไม่ทราบสาเหตุบ่อยๆ

โดยเฉพาะช่วงที่อากาศมีความชื้นสูง หรือช่วงหน้าฝน อาจมีสาเหตุจากสายไฟฟ้าเสื่อมสภาพจนเกิดไฟรั่วในระบบไฟฟ้า ควรให้ช่างผู้ชำนาญการเข้ามาตรวจสอบ

คำเตือน: การตรวจสอบสายไฟและระบบไฟฟ้าควรทำด้วยความระมัดระวัง อาจจำเป็นต้องตัดกระแสไฟฟ้าเพื่อความปลอดภัย และควรดำเนินการโดยผู้มีความรู้หรือช่างผู้ชำนาญการ

 


 

เพราะเรื่องของสายไฟ..ไม่ใช่อะไรก็ได้
เฟ้ลปส์ ดอด์จ Life Line ทุกสายคือชีวิต

#สายไฟที่ดีที่สุดต้องเฟ้ลปส์ดอด์จ

📞Tel. ‭02 680 5800‬
🌏www.pdcable.com
📱Line@: @phelpsdodge_th

#PhelpsDodge #ผู้เชี่ยวชาญเรื่องสายไฟ
#สายไฟคุณภาพสูง #สายไฟที่ดีที่สุด
#มาตรฐานความปลอดภัย
#ระดับโลก #WorldClass #Safety
#Lifeline #ทุกสายคือชีวิต
#สายไฟในบ้าน

 

 

เลือกใช้สายไฟฟ้าให้เหมาะสมกับงาน สายไฟฟ้าเฟ้ลปส์ ดอด์จ

สายไฟเมนต่อจากหม้อแปลง 3 เฟส 250 kVA เข้าตู้ MDB
ใช้สาย 60227 IEC 01 (THW) 1×185 mm.
เดินเปลือยติดแร็คลูกถ้วยเข้าอาคารได้หรือไม่?

 

 

เนื่องจากมีคำถามจากลูกค้าสอบถามเข้ามาและเป็นประโยชน์ ในเรื่องของความรู้การติดตั้งสายไฟ เฟ้ลปส์ ดอด์จ จึงขออนุญาตนำคำถามมาแชร์ให้เพื่อนๆ ได้ทราบกัน พร้อมตอบคำถามดังกล่าวจากวิศวกรผู้เชี่ยวชาญของเฟ้ลปส์ ดอด์จ เพื่อเป็นความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการติดตั้งสายไฟฟ้า ดังนี้ค่ะ

Q: สายไฟเมนต่อจากหม้อแปลง 3 เฟส 250 kVA เข้าตู้ MDB ใช้สาย 60227 IEC 01 (THW) เดินเปลือยติดแร็คลูกถ้วยเข้าอาคารได้หรือไม่?

A : จากคำถามดังกล่าว ทางวิศวกรแนะนำว่า จากการคำนวณเบื้องต้น หม้อแปลง 250 kVA ถ้าใช้ Main CB ขนาด 400 AT สามารถใช้สาย 60227 IEC 01 (THW) ขนาด 185 sq.mm. เดินลอยบนฉนวนลูกถ้วยในอากาศได้ อ้างถึงมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าฯของ วสท. ตารางที่ 5-22 การใช้งานสายไฟฟ้าชนิด 60227 IEC 01 (THW) ขนาด 185 sq.mm. เดินบนฉนวนลูกถ้วยในอากาศเรียงกันในแนวตั้งและแนวนอน มีขนาดกระแสเป็น 418 A และ 453 A ตามลำดับ แต่ทั้งนี้ต้องพิจารณาระยะความยาวสายที่เดินในท่อเมื่อเข้าอาคารตามข้อกำหนด วสท.ด้วยค่ะ

โดยมาตรฐานทางการติดตั้งฯของ วสท. ข้อ 5.25.1.9 ได้กำหนดไว้ว่าในที่ซึ่งมีการเดินสายผสมระหว่างการเดินสายในอากาศ หรือเกาะผนังในอากาศ และการเดินสายในท่อหากความยาวที่เดินในท่อไม่เกินครึ่งหนึ่งของความยาวสายทั้งหมด หรือสายที่เดินในท่อยาวไม่เกิน 6 เมตร แล้วแต่ค่าใดจะน้อยกว่า อนุญาตให้ใช้ค่าขนาดกระแสตา
วิธีการเดินสายในอากาศ หรือเกาะผนังในอากาศได้

————————–————————–—————————————————————————————————————————————————————-เพราะเรื่องของสายไฟ..ไม่ใช่อะไรก็ได้
เฟ้ลปส์ ดอด์จ Life Line ทุกสายคือชีวิต
#สายไฟที่ดีที่สุดต้องเฟ้ลปส์ดอด์จ

มั่นใจ ปลอดภัย ติดตั้งด้วยงานคุณภาพ ต้องสายไฟฟ้าเฟ้ลปส์ ดอด์จ
#สายไฟที่ช่างมืออาชีพทุกคนเลือกใช้

พบตัวแทนจำหน่ายสายไฟฟ้าเฟ้ลปส์ ดอด์จ ทั่วประเทศ ได้ที่ http://www.pdcable.com/distribution-2/

📞Tel. ‭02 680 5800‬
🌏www.pdcable.com
📱Line@: @phelpsdodge_th

#PhelpsDodge #ผู้เชี่ยวชาญเรื่องสายไฟ
#สายไฟคุณภาพสูง #สายไฟที่ดีที่สุด
#มาตรฐานความปลอดภัย
#ระดับโลก #WorldClass #Safety
#Lifeline #ทุกสายคือชีวิต

รู้หรือไม่ สายไฟที่เสื่อมสภาพนั้น เกิดจากปัจจัยใดได้บ้าง ?

 

ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่าสายไฟฟ้าในบ้านประกอบด้วยส่วนประกอบหลักๆคือตัวนำทองแดงและฉนวนหรือเปลือก ที่ทำจากพลาสติก PVC การที่สายไฟเสื่อมสภาพเกิดจากฉนวนหรือเปลือก PVC เกิดการเสื่อมสภาพจากผลของสภาพแวดล้อมที่สายติดตั้งอยู่ จนไม่สามารถป้องกันการรั่วไหลของกระแสไฟฟ้าได้ดีดังเดิม สำหรับปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการเสื่อมสภาพของสายไฟฟ้านั้นได้แก่ปัจจัยดังต่อไปนี้  1.แสงแดด  2.ความร้อน 3.ความชื้น

 

ปัจจัยข้อ 1  เกี่ยวกับแสงแดง ที่ทำให้สายไฟฟ้า เกิดการเสื่อมสภาพนั้น เนื่องจาก รังสี UV ในแสงแดดเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้ฉนวนหรือเปลือกพลาสติกกรอบแตก สายไฟฟ้าที่ใช้ในอาคารเช่น สาย VAF หรือสาย 60227 IEC 01 (THW) ที่ไม่ใช่สีดำ โดยทั่วไปจะไม่มีคุณสมบัติป้องกันรังสี UV ดังนั้นหากนำไปติดตั้งภายนอกอาคารหรือติดตั้งในที่แสงแดดส่องถึงเป็นเวลานาน อายุการใช้งานสายจะสั้นกว่าสายที่ไม่ถูกแสงแดด

Tip: หากต้องใช้สายไฟฟ้าติดตั้งในบริเวณที่มีแสงแดดส่องถึง แนะนำให้เลือกสายที่เป็นสีดำ เพราะสาร Carbon black ที่เติมลงในฉนวนหรือเปลือกเพื่อให้เป็นสีดำ มีคุณสมบัติป้องกันรังสี UV ได้ (สังเกตว่าสายไฟฟ้าที่ติดตั้งภายนอกบนเสาไฟฟ้าแทบทั้งหมดเป็นสีดำ เพื่อให้สามารถทนต่อแสงแดดได้)

เลือกติดตั้งด้วยสายไฟฟ้าคุณภาพสูงสุด ต้องสายไฟเฟ้ลปส์ ดอด์จ   https://www.pdcable.com/en/product-household-2/

 

 

ปัจจัยข้อที่ 2 ที่ทำให้สายไฟฟ้าเสื่อมสภาพ นั่นก็คือ ความร้อน เนื่องจาก ความร้อนที่ฉนวนและเปลือกได้รับสูงเกินกว่าพิกัดต่อเนื่องเป็นเวลานาน ส่งผลให้พลาสติกสูญเสียสภาพความยืดหยุ่นและความเป็นฉนวนได้ และถ้าความร้อนสูงมากอาจทำให้ฉนวนละลายหรือไหม้ได้ ซึ่งความร้อนอาจเกิดจากสภาพแวดล้อมที่ติดตั้งสายหรืออาจเกิดจากกระแสไฟฟ้าที่ไหลในสายสูงเกินพิกัด

Tip: สายไฟฟ้าที่ติดตั้งบริเวณใต้หลังคาที่ได้รับความร้อนที่แผ่ลงมาจากหลังคาจะเสื่อมสภาพเร็วกว่าสายไฟฟ้าที่ติดตั้งบริเวณอื่นที่ได้รับความร้อนน้อยกว่า การใช้ฉนวนกันความร้อนใต้หลังคา หรือการออกแบบบ้านให้ความร้อนใต้หลังคาสามารถระบายออกไปได้ ก็สามารถช่วยยืดอายุการใช้งานของสายไฟฟ้าที่ติดตั้งใต้หลังคาได้

เลือกติดตั้งด้วยสายไฟฟ้าคุณภาพสูงสุด ต้องสายไฟเฟ้ลปส์ ดอด์จ https://www.pdcable.com/en/product-household-2/
ปัจจัยข้อที่ 3 ที่ทำให้สายไฟฟ้าเสื่อมสภาพ นั่นคือ ความชื้น  เพราะความชื้นเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อการเสื่อมสภาพของสายไฟฟ้าในระยะยาว โดยเฉพาะจุดต่อสายที่ไม่มีฉนวนหุ้มที่ติดตั้งในที่ซึ่งมีโอกาสที่ละอองฝนหรือความชื้นสามารถเข้าไปถึงตัวนำทองแดงจนทำให้เกิดสนิมหรือเกิดการกัดกร่อนได้ นอกจากนี้ สายที่ติดตั้งในที่ชื้นแฉะหรือแช่ในน้ำตลอดเวลาจะมีโอกาสที่น้ำจะซึมผ่านชั้นเปลือกและฉนวนเข้าไปถึงภายในสาย ทำให้ฉนวนมีความต้านทานไฟฟ้าลดลงและสูญเสียสภาพความเป็นฉนวนจนเกิดไฟรั่วได้
Tip: การติดตั้งสายในท่อร้อยสายหรือในรางเดินสาย (Wire-way) เป็นการป้องกันสายจากสภาพแวดล้อม รังสี UV และความชื้น สามารถช่วยยืดอายุการใช้งานสายได้มาก
เลือกติดตั้งด้วยสายไฟฟ้าคุณภาพสูงสุด ต้องสายไฟเฟ้ลปส์ ดอด์จ https://www.pdcable.com/en/product-household-2/
——————————————————————————————————————————————————————————————————————–

เพราะเรื่องของสายไฟ..ไม่ใช่อะไรก็ได้
เฟ้ลปส์ ดอด์จ Life Line ทุกสายคือชีวิต

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

📞Tel. 02 680 5800
🌏www.pdcable.com
📱Line@: @phelpsdodge_th

#PhelpsDodge #สายไฟคุณภาพสูง
#มาตรฐานความปลอดภัย
#ระดับโลก #WorldClass
#Lifeline #ทุกสายคือชีวิต
#เฟ้ลปส์ดอด์จ #สายไฟในบ้าน

สายไฟฟ้าที่ใช้สำหรับสายดิน🔌

สายไฟฟ้าที่ใช้สำหรับสายดิน มีลักษณะดังต่อไปนี้

  1. สายดินต้องเป็นสายตัวนำทองแดง ตามมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้า
  2. สายดินอาจเป็นสายตัวนำทองแดงมีฉนวนหุ้มหรือไม่มีฉนวนหุ้ม (สายเปลือย) ก็ได้
  3. ตัวนำอาจเป็นตัวนำเส้นเดี่ยวหรือตีเกลียวก็ได้
  4. สีของฉนวนหรือเปลือกของสายดินต้องเป็นสีเขียวหรือสีเขียวแถบเหลือง
  5. โดยทั่วไปนิยมใช้สาย 60227 IEC 01 (THW) สีเขียวหรือเขียวแถบเหลืองเป็นสายดิน
  6. หรืออาจใช้สายไฟฟ้าชนิดหลายแกนที่มีสายดินรวมอยู่ด้วยก็ได้ เช่นสาย VAF-G, 60227 IEC 10, VCT-G หรือ NYY-G เป็นต้น

 

สายไฟฟ้าสำหรับสายดิน

สำหรับขนาดของสายดินตามมาตรฐานกำหนดของ วสท. มีดังต่อไปนี้

1.มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้ากำหนดขนาดตัวนำต่ำสุดโดยพิจารณาจากขนาดของเซอร์กิตเบรคเกอร์ตามตารางที่ 4-2 ของ วสท.

 

ขนาดของสายดินบริภัณฑ์ไฟฟ้า

ยกเว้น สายอ่อนพร้อมปลั๊กเต้าเสียบของอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีสายดินเป็นแกนหนึ่งของสาย ซึ่งใช้ไฟจากวงจรที่มีเครื่องป้องกันกระแสเกินขนาดไม่เกิน 20 แอมแปร์ อาจมีขนาดสายดินเล็กกว่าที่กำหนดในตารางได้แต่ต้องไม่เล็กกว่าขนาดตัวนำของแกนสายเส้นไฟและไม่เล็กกว่า 1.0 ตร.มม.

2.ขนาดต่ำสุดของสายต่อหลักดิน พิจารณาจากขนานตัวนำสายเมน (ตัวนำทองแดง)

เพราะเรื่องของสายไฟ..ไม่ใช่อะไรก็ได้🔌

โดยเฉพาะเรื่องของกระแสไฟรั่ว..เนื่องจากเราไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า..

พื้นฐานการต่อลงดิน
พื้นฐานการต่อลงดิน

#การติดตั้งสายดินและการต่อลงดิน เพื่อช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับชีวิตเราและคนในครอบครัว จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งค่ะ เพราะหากบ้านเราไม่มีการต่อลงดิน หากเกิดกรณีเครื่องใช้ไฟฟ้ามีไฟรั่ว แล้วเราไปสัมผัสส่วนที่มีไฟรั่ว กระแสไฟฟ้าจะไหลจากอุปกรณ์ไฟฟ้าผ่านตัวเราลงสู่พื้นดิน ทำให้เราถูกไฟดูดได้และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตหากมีกระแสไฟรั่วปริมาณมาก แต่ถ้าเครื่องใช้ไฟฟ้ามีการติดตั้งสายดินอย่างถูกต้อง #กระแสไฟฟ้าที่รั่วก็จะไหลผ่านสายดินแทน จึงไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตค่ะ

วันนี้ เฟ้ลป์ส ดอดจ์ | Phelps Dodge นำความรู้เรื่องสายดินและการต่อลงดินที่ถูกต้องตามมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้า สำหรับบ้านพักอาศัยมาแนะนำกัน ตามไปชมกันเลยค่ะ

 

👨‍🔧ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับการต่อลงดินกันก่อน การต่อลงดินเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นต่ความปลอดภัยในการใช้ไฟฟ้าอย่างมาก การต่อลงดินสำหรับระบบสายไฟฟ้าภายในอาคารประกอบด้วย 2 ส่วนคือ

🔌การต่อลงดินของระบบไฟฟ้า คือการต่อระบบไฟฟ้าลงดินที่แผงเมนสวิตช์ (ตู้เมนไฟฟ้า) ซึ่งมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้ากำหนดให้ต่อสายเส้นนิวทรัลลงดินโดยใช้สายต่อหลักดินผ่านลงไปที่หลักดินซึ่งฝังลงไปในดิน โดยให้ทำที่แผงเมนสวิตช์เพียงจุดเดียวและไม่ให้มีการต่อสายนิวทรัลเข้ากับสายดินที่จุดอื่นใดอีก

🔌การต่อลงดินของอุปกรณ์ไฟฟ้า คือการเดินสายดินจากอุปกรณ์ไฟฟ้าไปต่อลงดินที่แผงเมนสวิตช์ โดยใช้หลักดินเดียวกันกับการต่อลงดินของระบบไฟฟ้าในข้อ1 สายดินเป็นสายที่เดินเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเส้นจากสายเส้นไฟและสายนิวทรัล โดยต่อจากโครงหรือส่วนที่เป็นโลหะเปิดโล่งของอุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น ด้านหลังของตู้เย็น , เครื่องปรับอากาศ , ไมโครเวฟ เป็นต้น ผ่านสายดินกลับไปที่แผงเมนสวิตช์และต่อลงดินที่หลักดิน ซึ่งในภาวะปกติสายดินจะไม่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน เว้นแต่กรณีที่มีไฟรั่วที่อุปกรณ์ไฟฟ้า กระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านสายดินไปลงดิน ทำให้ไม่เกิดอันตรายต่อตัวบุคคลที่ไปสัมผัสบริเวณที่มีไฟรั่ว

ความสำคัญของการต่อลงดินอย่างถูกต้อง
เพื่อความปลอดภัยของบุคคล กรณีที่อุปกรณ์ไฟฟ้ามีไฟรั่ว หากไม่มีการต่อลงดิน เมื่อบุคคลไปสัมผัสจุดที่มีไฟรั่วกระแสไฟจะไหลผ่านร่างกายลงดิน ทำให้ถูกไฟดูดและเป็นอันตรายร้ายแรงถึงแก่ชีวิตได้ แม้กระแสไฟรั่วไม่ถึง 1 แอมแปร์

แต่หากมีการต่อลงดิน กระแสไฟที่รั่วจะไหลผ่านสายดินแทนเพราะสายดินมีความต้านทานทางไฟฟ้าต่ำกว่าความต้านทานของร่างกายคนอย่างมาก การต่อลงดินจึงสามารถป้องกันอันตรายจากการถูกไฟดูดได้

เพื่อให้อุปกรณ์ป้องกันกระแสเกิน (เซอร์กิตเบรกเกอร์) ทำงานได้อย่างสมบูณ์ กรณีที่เกิดการลัดวงจรและมีไฟรั่วปริมาณมากที่อุปกรณ์ไฟฟ้า หากมีการต่อลงดินของอุปกรณ์ไฟฟ้าอย่างถูกต้องจะทำให้กระแสไฟฟ้าสามารถไหลผ่านสายดินที่มีความต้านทานต่ำกลับไปครบวงจรที่แผงเมนสวิตช์ได้อย่างสะดวก เมื่อกระแสไฟลัดวงจรปริมาณมาก อุปกรณ์ป้องกันกระแสเกินจึงทำงานตัดวงจรได้อย่างถูกต้องรวดเร็ว

 

 

 

เลือกใช้สายไฟฟ้าคุณภาพสูงมาตรฐานความปลอดภัยระดับโลก
https://www.pdcable.com/product-household/

#PhelpsDodge #สายไฟคุณภาพสูง
#มาตรฐานความปลอดภัย #ระดับโลก
#Safety #Lifeline #ทุกสายคือชีวิต

📞Tel. ‭02 680 5800‬
🌏www.pdcable.com
📱Line@: @phelpsdodge_th

 

 

วงจรไฟฟ้าในภายในบ้านที่มีหลายวงจร

วงจรไฟฟ้าในบ้าน

สายไฟในบ้าน ประกอบด้วย สายวงจรย่อย

สายวงจรย่อย คือสายไฟฟ้าที่เดินจากอุปกรณป้องกันกระแสเกินตัวสุดท้าย (เซอร์กิตเบรคเกอร์ตัวลูกย่อย) ไปยังจุดจ่ายให้กับเครื่องใช้ไฟฟ้า เต้ารับ หรือดวงโคม ข้อมูลที่สำคัญ สำหรับวงจรย่อย มีดังต่อไปนี้

1. สายวงจรย่อยต้องใช้สายตัวนำทองแดงมีฉนวนหุ้ม เช่นสาย 60227 IEC 01 (THW) หรือ VAF เป็นต้น
คลิกดูสายไฟชนิดต่างๆ

2. ต้องคำนวณโหลดของวงจรย่อยแต่ละวงจรเพื่อหาขนาดตัวนำสายวงจรย่อย แต่ทั้งนี้ขนาดต้องไม่เล็กกว่า 2.5 ตร.มม.

3. ขนาดตัวนำสายวงจรย่อยที่แนะนำสำหรับบ้านพักอาศัยทั่วไปเป็นดังนี้     

3.1 วงจรย่อยสำหรับเต้ารับ ที่จ่ายให้เต้ารับหลายจุด ควรใช้ขนาดตัวนำ 4 ตร.มม. ขึ้นไป
3.2 วงจรย่อยสำหรับดวงโคม ขนาดตัวนำ 2.5 ตร.มม. ขึ้นไป ควรกำหนดวงจรย่อยแยกสำหรับเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำน้ำอุ่นแต่ละเครื่อง

4.สีฉนวนของสายวงจรย่อยกรณีใช้สาย 60227 IEC 01 (THW)
4.1 สายเส้นไฟ : ไม่บังคับ สามารถใช้สีแตกต่างกันสำหรับแต่ละวงจรย่อยเพื่อความสะดวกในการแยกวงจร แต่ห้ามใช้สีฟ้า สีเขียว และสีเขียวแถบเหลือง
4.2 สายนิวทรัล : สีฟ้า
4.3สายดิน : สีเขียว หรือสีเขียวแถบเหลือง

5. กรณีบ้านสองชั้นขึ้นไป ต้องแยกวงจรย่อย อย่างน้อยชั้นละ 1 วงจร

6. สำหรับวงจรย่อยของชั้นล่าง แนะนำให้แบ่งวงจรย่อยอย่างน้อยดังนี้ 6.1 ไฟฟ้าแสงสว่างภายในอาคาร 6.2 เต้ารับภายในอาคาร 6.3 เต้ารับภายนอกอาคาร

7. สายที่แยกจากจุดต่อสายวงจรย่อยเข้าดวงโคมแสงสว่างแต่ละดวง ควรใช้ขนาดไม่ต่ำกว่า 1.5 ตร.มม.

8. สายที่แยกจากจุดต่อสายวงจรย่อยเข้าเต้ารับแต่ละจุด  ควรใช้ขนาดไม่ต่ำกว่า 2.5 ตร.มม.

9. สายนิวทรัลใช้สีฟ้า และเลือกขนาดเท่ากับสายเฟส (สายเส้นไฟ)

10. ขนาดต่ำสุดของสายต่อหลักดินพิจารณาจากขนาดของสายเมนตามที่กำหนดตาราง

11. ขนาดต่ำสุดของสายดินของวงจรย่อยพิจารณาจากขนาดเซอร์กิตเบรคเกอร์ตามที่กำหนดในตาราง

ตางรางขนาดสายไฟฟ้าที่เหมาะสมสำหรับวงจรภายในบ้าน

วงจรไฟฟ้า

อย่างไรก็ตาม การเลือกขนาดสายไฟฟ้าสำหรับแต่ละวงจรต้องเลือกให้สัมพันธ์กับขนาดพิกัดของเซอร์กิตเบรคเกอร์ด้วย โดยต้องคำนึงเสมอว่า พิกัดกระแสไฟฟ้าของสายที่เลือกต้องไม่ต่ำกว่าขนาดพิกัดของเซอร์กิตเบรคเกอร์ เพราะเมื่อเกิดภาวะโหลดเกินเซอร์กิตเบรคเกอร์ต้องตัดวงจรก่อนที่กระแสจะเกินกว่าพิกัดที่สายไฟฟ้าจะรับได้   เพื่อป้องกันไม่ให้สายไฟฟ้าเสียหายได้

สอบถามสั่งซื้อสายไฟฟ้าและเทปพันสายไฟ

Line : @phelspdodge_th

เฟ้ลปส์ ดอด์จ ผู้ผลิตสายไฟฟ้าที่ดีที่สุด

Tel. ‭02 680 5800‬
www.pdcable.com
E-mail : Marketing@pdcable.com

ความรู้ระบบไฟฟ้าภายในบ้าน

เป็นอีกเรื่องใกล้ตัวที่ควรรู้

เคยทราบกันไหมคะ ว่าบ้านที่เราอยู่ทุกวันนั้น
มีการเดินสายไฟอย่างไร?

ระบบสายไฟภายในบ้าน

ความรู้ระบบไฟฟ้าภายในบ้าน ระบบสายไฟฟ้าภายในบ้าน เป็นอีกเรื่องใกล้ตัวที่ควรรู้ค่ะ เนื่องจากปัจจุบันจะนิยมติดตั้งสายไฟฟ้าโดยเดิน ซ่อนสายไว้ในผนังหรือฝ้าเพดาน ทำให้ผู้อยู่อาศัยในบ้านแทบไม่มีโอกาสได้เห็นหน้าตาของสายไฟฟ้า และ ขนาดของสายไฟฟ้าที่ติดตั้งในบ้านได้เลย นอกจากพี่ๆช่างไฟฟ้าที่เป็นผู้ติดตั้ง หรือเมื่อเจ้าของบ้านต้องทำการแก้ไขต่อเติมระบบไฟฟ้าในบ้าน ดังนั้นหากมีโอกาสที่ต้องเดินสายไฟฟ้าในบ้านเมื่อใด ควรต้องแน่ใจว่าได้เลือกใช้สายไฟฟ้าอย่างถูกต้องเหมาะสมเพื่อความปลอดภัยต่อการติดตั้ง 

เฟ้ลปส์ ดอด์จ จะขอแบ่งปันความรู้ เรื่องการเลือกใช้สายไฟฟ้าและการติดตั้งสายไฟฟ้าสำหรับบ้านพักอาศัย ที่ถูกต้องและปลอดภัยตามมาตรฐาน โดยสามารถดูได้จากภาพประกอบด้านล่าง

สายไฟในบ้าน

1. สายเมน (สายประธาน) คือสายไฟฟ้าที่เดินจากมิเตอร์ไฟฟ้าเข้ามาที่แผงเมนสวิตช์ (ตู้เมนไฟฟ้าหรือตู้คอนซูเมอร์) ของบ้านนั่นเอง

  1. สายเมนต้องมีขนาดเพียงพอที่จะรองรับโหลดรวมของทุกวงจรย่อยได้
  2. ตัวนำสายเมนต้องรับกระแสได้ไม่น้อยกว่า 1.25 เท่าของโหลดสูงสุดของมิเตอร์ไฟฟ้า และต้องไม่เล็กกว่าขนาดตามที่ระบุในตาราง
  3. สายเมนควรเลือกใช้สายตัวนำทองแดงหุ้มฉนวน เช่น สาย 60227 IEC 01 (THW)   https://www.pdcable.com/product-household/
  4. สายเมนชนิดตัวนำอลูมิเนียมหุ้มฉนวน เช่นสาย THW-A อนุญาตให้ใช้ได้สำหรับการเดินสายลอยในอากาศภายนอกอาคารในเขตการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเท่านั้น และขนาดต้องไม่เล็กกว่า 10 ตร.มม. แต่สายเมนส่วนที่เดินในอาคารต้องใช้สายตัวนำทองแดง
  5. สีของสายเมน อยู่ในข้อยกเว้น ไม่จำเป็นต้องใช้สีน้ำตาลและฟ้า อาจใช้สายสีดำแล้วทำเครื่องหมายสำหรับสายเส้นไฟและนิวทรัลได้  https://goo.gl/oZoNZQ

สอบถามสั่งซื้อสายไฟฟ้าและเทปพันสายไฟ

Line : @phelspdodge_th

เฟ้ลปส์ ดอด์จ ผู้ผลิตสายไฟฟ้าที่ดีที่สุด

Tel. ‭02 680 5800‬
www.pdcable.com
E-mail : Marketing@pdcable.com

โครงการ BITEC 2 ใช้สายไฟ CV, THW, IN, CVV, XLPE
โครงการ BITEC 2
สายที่ใช้ CV, THW, IN, CVV, XLPE

ชื่อสาย : 60227 IEC 01 (THW)

โครงสร้างสาย : สายไฟ THW ตัวนำทองแดงเส้นเดี่ยวแข็งและตีเกลียว, ฉนวนพีวีซี, แกนเดียว
แรงดัน :  450/750 V
จำนวนแกน : 1 แกน
ขนาด : 1.5-400 sq.mm.
มาตรฐาน : มอก. 11-2553
การใช้งาน : สายไฟฟ้า THW ใช้สำหรับเดินร้อยท่อภายในบ้านและอาคาร, ร้อยท่อฝังผนังคอนกรีต
ร้อยท่อเดินใต้ฝ้า, เดินในช่องเดินสายแบบปิดมิดชิด และต้องป้องกันน้ำเข้าช่องเดินสาย
Continue reading “60227 IEC 01 (THW)”

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ตั้งค่าทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้ที่เกี่ยวกับดำเนินการฟังก์ชัน

    ยินยอมให้ใช้ Functionality Cookies ที่ทำหน้าที่จดจำการตั้งค่าบนแพลตฟอร์ม เช่น ชื่อบัญชีผู้ใช้ ภาษา ฟ้อนต์ และรูปแบบแพลตฟอร์ม

  • คุกกี้ประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์

    ยินยอมให้ใช้ Performance Cookies เพื่อประเมินประสิทธิภาพในการทำงานแต่ละส่วนของเว็บไซต์เพื่อการปรับปรุง

  • คุกกี้วิเคราะห์สำหรับการโฆษณา

    ยินยอมให้ใช้ Advertising Cookies เพื่อการนำเสนอสินค้าหรือบริการที่เกี่ยวข้องและตรงกับความสนใจได้มากขึ้น

บันทึก