Tel : 0-2680-5800

สายไฟใต้ดิน ต้องมีคุณสมบัติอย่างไร ถึงจะ ทนน้ำ ทนความชื้น

“แล้วยังสามารถทำงานได้ “

สายไฟใต้ดิน สายไฟเฟ้ลปส์ ดอด์จ

สายไฟใต้ดินที่ดีที่สุด ต้องสายไฟเฟ้ลปส์ ดอด์จ

สายไฟใต้ดิน ต้องมีคุณสมบัติอย่างไร ถึงจะ ทนน้ำ ทนความชื้น  “แล้วยังสามารถทำงานได้”

เมื่อสภาพภูมิอากาศช่วงนี้ไม่เป็นใจ ฝนตกหนัก สภาวะแวดล้อม มีความชื้น และ น้ำท่วม เคยสงสัยกันไหมคะว่า สายไฟที่อยู่ใต้ดินนั้น จะทนสภาวะแวดล้อมแบบนี้ได้ยังไง

เนื่องจากสายไฟฟ้าแรงดันสูงนั้นส่วนใหญ่แล้วเราจะพบเห็นในลักษณะที่ติดตั้งอยู่บนเสาไฟฟ้า แต่รู้ไหมว่ายังมี สายไฟฟ้าแรงดันสูงที่ติดตั้งโดยฝังไว้ใต้ดิน อีกด้วย ซึ่งสายไฟฟ้าสำหรับติดตั้งใต้ดินนั้น จำเป็นต้องมีคุณสมบัติและประสิทธิภาพความปลอดภัยสูงสุดเป็นไปตามที่มาตรฐานกำหนด โดยเฉพาะมาตรฐาน IEC ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลที่เป็นที่ยอมรับและใช้กันทั่วโลก

โดยสายไฟฟ้า ที่ใช้สำหรับติดตั้งใต้ดิน มี 3 ประเภทคือ

  1. สายไฟฟ้าแรงดันสูง คือ สายไฟฟ้าที่ใช้กับระบบไฟฟ้าที่มีแรงดันไฟฟ้า 69kV หรือ 115kV
  2. สายไฟฟ้าแรงดันปานกลาง คือ สายไฟฟ้าที่ใช้กับแรงดันไฟฟ้ามากกว่า 1kV ถึง 36kV เช่น แรงดันไฟฟ้า 24kV (การไฟฟ้านครหลวง) และ 22kV หรือ 33kV (การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค)
  3. สายไฟฟ้าแรงดันต่ำ คือ สายไฟฟ้าที่ใช้กับแรงดันไฟฟ้าต่ำกว่า 1kV

เนื่องจากการนำสายไฟติดตั้งใต้ดินนั้น ต้องใช้สายไฟที่มีคุณสมบัติที่ต่างกับสายที่ติดตั้งบนอากาศ เพื่อให้ทนน้ำและทนความชื้นได้ โดยโครงสร้างของสายเคเบิลใต้ดิน มีดังต่อไปนี้

1) Conductor (ตัวนำ) ทำหน้าที่นำกระแสไฟฟ้า ทำจากอะลูมิเนียมหรือทองแดง ซึ่งในประเทศไทย จะใช้ตัวนำชนิดทองแดงเป็นหลัก โดยมีหลายลักษณะดังนี้

1.1) Compact Strand Conductor (ตัวนำอัดแน่น) ใช้เป็นตัวนำของสายไฟฟ้าหุ้มฉนวนทั่วๆไปโดยการนำตัวนำตีเกลียว มาบีบอัดให้มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กลง เมื่อนำไปใช้ในสายหุ้มฉนวนทำให้ลดความเครียดสนามไฟฟ้า และจะช่วยลดวัสดุที่นำมาหุ้มได้

1.2) Milliken Conductor ใช้ในสายเคเบิลใต้ดินขนาดใหญ่ที่มีขนาดตัวนำตั้งแต่ 1,000 ตารางมิลลิเมตรขึ้นไป โดยแต่ละ Segment จะประกอบด้วยตัวนำตีเกลียวแล้วอัดให้เป็นรูป Segment โดยแต่ละ Segment จะคั่นด้วยฉนวนบาง ข้อดีของตัวนำชนิดนี้ก็คือมี AC Resistance ต่ำ เนื่องจาก Wire ในแต่ละ Segment มีการ Transpose เข้าออกระหว่างส่วนนอกและส่วนในของตัวนำ ทำให้ Skin Effect Factor ต่ำ ทำให้ตัวนำชนิดนี้สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้สูงกว่าตัวนำอัดแน่น ซึ่ง เฟ้ลปส์ ดอด์จ เป็นผู้ผลิตสายไฟของไทยรายแรกและรายเดียวในขณะนี้ที่ผลิตตัวนำชนิด Milliken ใช้ในสายไฟฟ้าแรงดันสูงสำหรับติดตั้งใต้ดิน

2) Conductor Screen ทำจากวัสดุกึ่งตัวนำ (Semi-conducting) หุ้มบนตัวนำ ทำหน้าที่กระจายความเครียดสนามไฟฟ้า และผิวสัมผัสของตัวนำกับฉนวนเรียบไม่มีช่องว่างที่มีศักย์ไฟฟ้าสูงตกคร่อมซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิด Partial Discharge

3) Insulation (ฉนวน) เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของสายเคเบิลใต้ดินมีหน้าที่กันไม่ให้กระแสไฟฟ้าเกิดการรั่วไหลหรือลัดวงจรจนเกิดการสูญเสียต่อระบบไฟฟ้า และอาจเกิดอันตรายต่อบุคคลที่ไปสัมผัสได้ ฉนวนที่นิยมใช้ในสายไฟฟ้าใต้ดินคือฉนวนชนิดครอสลิงกด์พอลิเอธิลีน (XLPE) ซึ่งสามารถทนอุณหภูมิใช้งานของตัวนำได้สูงสุดถึง 90 องศาเซลเซียส ส่วนฉนวนชนิดพอลิไวนิลคลอไรด์ (PVC) จะใช้กับสายไฟฟ้าแรงดันต่ำเท่านั้น

4) Insulation Screen ทำหน้าที่เช่นเดียวกับ Conductor Screen คือทำหน้าที่กระจายความเครียดสนามไฟฟ้า และลดแรงดันไฟฟ้าตกคร่อมบริเวณผิวสัมผัสของ Insulation และ Metallic Screen วัสดุที่ใช้ทำ Insulation Screen จะเหมือนกับ Conductor Screen คือวัสดุกึ่งตัวนำ

5) Metallic Screen ทำหน้าที่เป็น Ground สำหรับสายไฟฟ้าแรงสูงและเป็นทางให้กระแสไฟฟ้าไหลกลับในกรณีที่เกิดการลัดวงจร บางครั้ง Metallic ยังทำหน้าที่เป็น Mechanical Protection หรือทำหน้าที่เป็นชั้นกันน้ำในกรณีของสายเคเบิลใต้น้ำ (Submarine Cable) อาจเป็น Tape หรือ Wire ทำด้วยทองแดงหรืออะลูมิเนียมหรืออาจจะเป็น Lead Sheath (ปลอกตะกั่ว) หรือ Corrugate Aluminum Sheath (ปลอกอะลูมิเนียมลูกฟูก)

6) Water Blocking Tape เป็นชั้นที่เสริมขึ้นมาในกรณีของสายเคเบิลใต้ดินแรงสูงที่ใช้ในบริเวณที่ชื้นแฉะเพื่อป้องกันน้ำไหลเข้าไปตามแนวสายเคเบิลในกรณีที่ Jacket ของสายเคเบิล มีการชำรุดจากการลากสายทำให้ส่วนที่เป็นฉนวนสัมผัสกับน้ำเป็นระยะทางยาว สายเคเบิลจึงมีโอกาสชำรุดสูง Water Blocking Tape นี้ทำจากสารสังเคราะห์และมี Swellable Powder (สารที่ดูดซึมน้ำเข้าไปแล้วขยายตัวมีลักษณะเป็นผงคล้ายแป้ง) โดยทั่วไปจะอยู่ระหว่างชั้น Insulation Screen กับ Jacket

7) Laminated Sheath เป็นชั้นกันน้ำตามแนวขวางในสายเคเบิลแรงสูงมีลักษณะเป็นเทปโลหะหุ้มด้วย Plastic ทั้งสองหน้าจากนั้นนำมาห่อรอบ Ground Screen โดย Plastic ที่ผิวนอกและผิวในของเทปจะถูกละลายให้ติดกันเป็นเนื้อเดียวทำให้สามารถป้องกันไม่ให้โมเลกุลของน้าแพร่ผ่านเข้าไปยังฉนวนได้

8) Non Metallic Sheath หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า Jacket ทำหน้าที่ป้องกันแรงกระแทกเสียดสีต่างๆขณะติดตั้งสายเคเบิล และป้องกันน้ำเข้าสู่ชั้นฉนวน วัสดุที่ใช้ทำเป็น Jacket คือ พอลิเอธิลีน (PE) หรือ พอลิไวนิลคลอไรด์ (PVC) ซึ่งสายไฟฟ้าที่ติดตั้งใต้ดินส่วนมากจะเลือกใช้ Jacket ชนิด PE ซึ่งมีคุณสมบัติการกันน้ำได้ดีกว่า PVC

โครงสร้างสายไฟใต้ดินที่ดีที่สุด ต้องสายไฟเฟ้ลปส์ ดอด์จ

1. Low Voltage Cable

สายใต้ดิน

โครงสร้างสาย Low Voltage Cable สายไฟแรงดันต่ำ

 จาก เฟ้ลปส์ ดอด์จ สำหรับติดตั้งใต้ดิน

Catalog Download

2. Medium Voltage Cable

สายแรงดันปานกลาง

โครงสร้างสาย Medium Voltage Cable สายไฟแรงดันปานกลาง

จาก เฟ้ลปส์ ดอด์จ สำหรับติดตั้งใต้ดิน

Product 

Catalog Download

3. High Voltage Cable

สายใต้ดิน

โครงสร้างสาย High Voltage Cable สายไฟแรงดันสูง

จาก เฟ้ลปส์ ดอด์จ สำหรับติดตั้งใต้ดิน

Product    Catalog Download

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

Tel. ‭02 680 5800‬

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ตั้งค่าทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้ที่เกี่ยวกับดำเนินการฟังก์ชัน

    ยินยอมให้ใช้ Functionality Cookies ที่ทำหน้าที่จดจำการตั้งค่าบนแพลตฟอร์ม เช่น ชื่อบัญชีผู้ใช้ ภาษา ฟ้อนต์ และรูปแบบแพลตฟอร์ม

  • คุกกี้ประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์

    ยินยอมให้ใช้ Performance Cookies เพื่อประเมินประสิทธิภาพในการทำงานแต่ละส่วนของเว็บไซต์เพื่อการปรับปรุง

  • คุกกี้วิเคราะห์สำหรับการโฆษณา

    ยินยอมให้ใช้ Advertising Cookies เพื่อการนำเสนอสินค้าหรือบริการที่เกี่ยวข้องและตรงกับความสนใจได้มากขึ้น

บันทึก